การศึกษาการใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนทัศนศิลป์ ระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • เพ็ญผกา ทัดทอง สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์ ดร.อินทิรา พรมพันธุ์ อาจารย์ประจาสาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

แหล่งเรียนรู้ออนไลน์, การใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์, การสอนทัศนศิลป์ในระดับประถมศึกษา, ONLINE LEARNING RESOURCES, USING ONLINE LEARNING RESOURCES, VISUAL ARTS INSTRUCTION AT THE ELEMENTARY SCHOOL LEVEL

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนทัศนศิลป์ระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนทัศนศิลป์ระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรด้วยแบบสอบถามอาจารย์ที่สอนวิชาทัศนศิลป์ จานวน 95 โรงเรียน และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบวิเคราะห์การใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนทัศนศิลป์ จากอาจารย์ที่สอนวิชาทัศนศิลป์ที่มีประสบการณ์ในการใช้ ICT ไม่ต่ากว่า 5 ปี โดยใช้การสุ่มแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) จานวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (xˉ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) แล้วนาเสนอในรูปของตารางประกอบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการวิเคราะห์การใช้แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนทัศนศิลป์ในระดับประถมศึกษา สรุปได้เป็น 2 ด้าน คือ ด้านการเรียนการสอนทัศนศิลป์ และด้านแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์2) อาจารย์ที่สอนวิชาทัศนศิลป์ใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนด้านการเรียนรู้ออนไลน์มากที่สุด โดยส่งเสริมการค้นหาความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ (xˉ=4.56) ด้านจรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยส่งเสริมการใช้ภาษาที่สุภาพและเป็นทางการในการสนทนาแบบออนไลน์ (xˉ=4.35) ด้านทักษะพื้นฐานในการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยส่งเสริมการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น โปรแกรมสาหรับการสืบค้น (Search engine) ได้แก่ Google, Yahoo (xˉ=4.43) และด้านการเรียนการสอนทัศนศิลป์ โดยส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ (xˉ=4.59) 3) ผลการสัมภาษณ์อาจารย์เกี่ยวกับการใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนทัศนศิลป์ พบว่าใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด โดยใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์สนับสนุนการเรียนการสอนทัศนศิลป์ในเนื้อหาด้านศิลปะปฏิบัติจาก Google

The purposes of this research study were to 1) study of using online learning resources to promote visual arts instruction at the elementary school level in Bangkok metropolitan, 2) to study the opinions of using online learning resources to promote visual arts instruction at the elementary school level in Bangkok metropolitan to participating schools promote the use of technology for learning development. The data collection consists of questionnaires from visual arts teachers of 95 schools; an interview form and analyze form of using online learning resources to promote visual arts instruction selected from 30 visual arts teachers by snowball sampling who have experience in the using of ICT than 5 years. The obtained data were the mean, standard deviation, frequency and percentage.
The research found: 1) The analysis of using online learning resources to promote visual arts instruction at the elementary school level was summarized into two part: visual arts instruction and concept of online learning. 2) Visual Arts teachers use online learning resources to promote instruction in the most online learning by promote to searching of currently knowledge (xˉ=4.56), The ethics of internet users by promote using polite language and formal in online discussion (xˉ=4.35), The basic skills in internet using by promote using search engine to searching information through the internet, including Google and Yahoo (xˉ=4.43) and visual arts instruction by promote development of creativity (xˉ=4.59) 3) The research results using interview about using online learning resources to promote visual arts instruction indicated that to promote the development of creativity the most. By using online learning resources to promote visual arts instruction in the content of studio art from Google

Downloads

How to Cite

ทัดทอง เ., & พรมพันธุ์ อ. ด. (2015). การศึกษาการใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนทัศนศิลป์ ระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 10(2), 496–507. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35330