สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Authors

  • ปรเมศวร์ ชรอยนุช สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.กรรณิการ์ สัจกุล สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การพัฒนามนุษย์, คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์, มิชชันนารี, HUMAN DEVELOPMENT, PROTESTANT CHRISTIANITY, MISSIONARY

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการพัฒนามนุษย์ตามแนวคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ โดยการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ในการจัดการศึกษาของมิชชันนารีโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ยุค ดังนี้ 1) ยุคบุกเบิกการศึกษาแบบตะวันตก ค.ศ.1838-1933 (พ.ศ. 2391–2476) 2) ยุคส่งมอบการจัดการศึกษาให้อยู่ในความรับผิดชอบของนักการศึกษาคริสเตียนไทย ค.ศ.1934-1956 (พ.ศ. 2477-2499) 3) ยุคการจัดการศึกษาโดยมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ค.ศ.1957-2015 (พ.ศ. 2500–2558)
ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดในการพัฒนามนุษย์ตามแนวคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ตั้งอยู่บนอุดมคติทางความเชื่อและคาสอนของคริสต์ศาสนา โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการขจัดความไม่รู้ของคนไทย อีกทั้งเป็นช่องทางในการเผยแผ่คริสต์ศาสนา อันเป็นการหลุดพ้นจากความบาปและสิ่งชั่วร้ายทั้งมวล มิชชันนารีเชื่อว่าหากทุกคนได้รับการศึกษาตามแนวคาสอนของศาสนาคริสต์ ย่อมนาไปสู่ความรู้ความเข้าใจคุณค่าของความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ในทุกมิติ ดังนั้น แนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ของมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนต์จึงมี 6 เรื่อง ได้แก่ 1) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณธรรมตามหลักคาสอนในพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ 2) การจัดการศึกษาบนหลักความเสมอภาคของมนุษย์ 3) การจัดการศึกษาในสิ่งแวดล้อมแบบคริสต์ศาสนา 4) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตให้สมบูรณ์ทุกมิติ 5) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้นาในคริสตจักรและสังคม และ 6) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ตามแบบของ พระเยซูคริสต์

The purpose of this research is to study the concept of human development based on Protestant Christianity. The study employs a historical analysis methodology to analyze educational process and work of Protestant missionaries in Thailand, which can be divided into three periods. First, the pioneer period of Western education (1838-1933); second, the period of educational operation under the Thai Christian leadership (1934-1956); and third, the period of educational operation under the Church of Christ in Thailand (1957-2015).
This research shows that the principle concept of human development conducted be Protestant missionaries based basically on Christianity ideology and teaching. Missionaries used education as ways to eliminate ignorance which is influenced by sin and evil. Missionaries believed that by undergo education a person will understand clearly the meaning life and willing to accept the truth in Christianity. There are six principles used by missionaries to provide guidelines in promoting education as ways to develop human beings. These are: 1) Education for moral development based on Christian teachings in the Bible; 2) Education for the principle of human equality; 3) Education within Christian environment; 4) Education for a holistic person of being human; 5) Education to develop leadership to serve both churches and society; and 6) Education to develop a person to its fullness as the image of Christ.

Downloads

How to Cite

ชรอยนุช ป., & สัจกุล ร. (2015). สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. An Online Journal of Education, 10(2), 519–533. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35332