ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี
Keywords:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี, INSTRUCTIONAL LEADERSHIP, SUANKULARB WITTAYALAI THONBURI SCHOOLAbstract
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรีจำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น(PNIModified)
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสภาพที่คาดหวังสูงกว่าสภาพที่เป็นจริงทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทั้งสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังแต่ละด้านมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา และต่ำที่สุดตรงกัน ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน รองลงมาคือ ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน 2) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ด้วยค่าดัชนีความต้องการจำเป็นพบว่าด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน รองลงมาคือด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน ส่วนด้านการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน เป็นด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด
This research was conducted using a descriptive research method. The objectives of this research were 1) to study the actual state and the expected state of the instructional leadership of school administrators of Suankularb Wittayalai Thonburi School. 2) to study the priority needs of development of the instructional leadership of Suankularb Wittayalai Thonburi School. The population of this study consisted of 80 Suankularb Wittayalai Thonburi School’s teachers. The research instrument used in this study was the 5 level rating scaled questionnaire, 100% of questionnaires were returned. The data was analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and Modified Priority Needs Index
The findings indicated that 1) the actual state of the instructional leadership of school administrators of Suankularb Wittayalai Thonburi School of the overall and each characteristic was rated at a high level. The expected state of the instructional leadership of school administrators of Suankularb Wittayalai Thonburi School of the overall and each characteristic was rated at a highest level. The average condition of the expected state higher than the actual state on all characteristics. Considering each characteristic, it was found that the characteristic with the highest mean score is the factor of promoting a positive school learning climate, followed by the factor of defining the school’s mission, and managing instructional programs receiving the lowest mean. 2) The priority needs of development of the instructional leadership of Suankularb Wittayalai Thonburi School with Modified Priority Needs Index found that the characteristic with the highest priority needs index was managing instructional programs receiving followed by defining the school’s mission.While promoting a positive school learning climate was the characteristic with the lowest priority needs index.