สภาพการบริหารจัดการคนเก่งของโรงเรียนเอกชนในสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดสระบุรี
Keywords:
การบริหารจัดการคนเก่ง, TALENT MANGEMENTAbstract
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการคนเก่งของโรงเรียนเอกชนในสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดสระบุรี 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการคนเก่งของโรงเรียนเอกชนในสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดสระบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนเอกชนในสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดสระบุรี จำนวน 11 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารทรัพยากรบุคคล และครูผู้สอน รวมจำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามลักษณะแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 81.06 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการคนเก่งของโรงเรียนเอกชนในสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดสระบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยสภาพปัจจุบันด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการธำรงรักษาคนเก่ง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการจ่ายค่าตอบแทนและการให้รางวัลคนเก่ง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการธำรงรักษาคนเก่ง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการจ่ายค่าตอบแทนและการให้รางวัลคนเก่ง 2) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการคนเก่งของโรงเรียนเอกชนในสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดสระบุรี พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการจ่ายค่าตอบแทนและการให้รางวัลคนเก่ง รองลงมา คือ การระบุคนเก่ง ส่วนด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ ด้านการพัฒนาคนเก่ง
This research was a descriptive study. The purposes of this research were 1) to study the current and the desirable states of talent management of private schools in The Association of Saraburi Private Schools, and 2) to study the priority needs for the talent management of private schools in The Association of Saraburi Private Schools. The population of this study consisted of 11 schools in The Association of Saraburi Private Schools. The research instrument was using the 5 rating scale questionnaires from total of 132 participants, including 22 school administrators, 22 human resources officers and 88 teachers, which 81.06% of questionnaires were returned. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and PNI.
The research finding were as follows; 1) the states of the talent management of private schools in The Association of Saraburi Private Schools overall were also at the high level both on current and desirable basis. The highest mean of the current state was the talent retention and the lowest mean was the talent rewards and compensation. Meanwhile the highest mean of the desirable state was the talent retention and the lowest mean was the talent rewards and compensation. 2) The priority needs index indicated that the highest needs of the talent management of private schools in the Association of Saraburi Private Schools were the talent rewards and recognition, followed by talent identification. Whereas the lowest of the priority needs index was the talent professional development.