การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาในเขตธนบุรี

Authors

  • ภัทรา ธรรมวิทยา สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.นันทรัตน์ เจริญกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี, วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี, สมรรถนะทางเทคโนโลยี, การสนับสนุนเทคโนโลยี, เทคโนโลยีด้านการเรียนการสอน, เทคโนโลยีด้านการบริหารงาน, จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี, เทคโนโลยีในโรงเรียน, TECHNOLOGY LEADERSHIP, VISION IN TECHNOLOGY, ABILITY IN USIN

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในเขตธนบุรีตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 12 คน และครู 167 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างครูแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มตามสัดส่วนครูของแต่ละโรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบ ค่าที (t-test)  ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในความคิดเห็นของผู้บริหารและครู เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในความคิดเห็นของผู้บริหาร และด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในความคิดเห็นของครู

เมื่อทดสอบค่า t พบว่า ในภาพรวมความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า แตกต่างกัน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี 2) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในด้านการบริหารงาน 3) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในด้านการจัดการเรียนการสอน และ 4) ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ด้านที่มีความแตกต่างมากที่สุดระหว่างความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู คือ ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ส่วนด้านที่ไม่มีความแตกต่างกัน คือ ด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยี

The purpose of this descriptive study was to examine and compare technology leadership of private elementary school administrators in Thonburi district based on the opinions of school administrators and teachers. The sample in this study consisted of 12 school administrators and 167 teachers. Stratified sampling and proportional allocation methods were used to obtain the sample population of the teachers. The research instrument used was a check list and a rating scaled questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics: frequency, percentage, mean score and standard deviation. An independent sample t-test was used to compare the opinions of administrators and teachers.

The results revealed that, in general, technology leadership in the aspect of ethics in using technology had the highest score amongst administrators and teachers. When considering each aspect, the ability to use technology has the lowest score among administrators, while technology support in teaching and learning had the lowest score among teachers. The t-test showed that there was no statistically significant difference between administrators and teachers’ opinions. Overall, at the significant level of 0.05, however, when exploring each aspect, there were significant differences in 4 aspects: 1) vision in technology 2) technology support in administration 3) technology support in teaching and learning and 4) ethics in using technology. The aspect with the highest significant difference between administrators and teachers’ opinion was the ethics in using technology while the aspect with no significant difference was the ability to use technology. 

Downloads

How to Cite

ธรรมวิทยา ภ., & เจริญกุล ผ. (2015). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาในเขตธนบุรี. An Online Journal of Education, 10(3), 126–138. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35545