แนวทางการพัฒนาครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาในนครหลวงเวียงจันทน์ แห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)

Authors

  • สีมาลา ลียงวา สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาพวิชานโย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ที่อยู่ เพชรจินดาแมนชั่น 5 988 ซอยพระรามหก 23 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
  • ผศ.ดร.นันทรัตน์ เจริญกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การพัฒนาครู, โรงเรียนมัธยมศึกษา, สปป.ลาว, TEACHER DEVEL0PMENT, SECONDARY SCHOOLS, LAO P.D.

Abstract

การวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาในนครหลวงเวียงจันทน์     สปป.ลาว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ผู้บริหาร 137 คน และครูจำนวน 346 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่าวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนาครูได้มีการพัฒนาครูทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) การกำหนดความจำเป็นในการพัฒนาครูคือผู้บริหารมีการกำหนดมารฐานการปฏิบัติงานที่ชัดเจนโดยจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญและมีความกระตือรือร้นในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาโดยวิธีวิเคราะห์การปฏิบัติตามแผนการกำหนดความจำเป็นในการพัฒนาครูและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนทั้งระดับงานและบุคคลโดยกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา 2) การวางแผนการพัฒนาโรงเรียนมีการอบรมด้านการวางแผนพัฒนาครูอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอนอย่างละเอียดมีการติดตามตรวจสอบเป็นระยะเพื่อการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระบบอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับระยะเวลาที่กำหนด 3) การนำแผนพัฒนาไปใช้ในโรงเรียนโดยจัดให้มีการอบรมอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปีการศึกษา        มีการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีการศึกษา มีการสัมมนาทุก 3 เดือน สนับสนุนการลาศึกษาต่อ ให้ครูมีโอกาสไปศึกษาต่อตามทุนการศึกษาที่กระทรวงศึกษาและกีฬาอนุมัติตามระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดและมีประสิทธิภาพ 4) การประเมินผลการพัฒนามีการวัดและประเมินผลทุกปีการศึกษาเป็นระบบชัดเจนและเข้าใจง่ายมีการติดตามจากคณะกรรมการณ์ตรวจสอบเครื่องมือในการวัดและประเมินผลต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

This research aimed to study guidelines for development of secondary school teachers in Vientiane capital. Lao P.D.R. The sample population in this study consisted of 137 administrators and 346 teachers.  The research instrument was used a rating - scale questionnaire. Data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation.

The research results revealed that the guidelines for teacher development could be divided into 4 stages: (1) Diagnosing Development Needs with the clear performance management standards by organizing activities to promote teachers interest awareness and enthusiasm in providing  the development plan and eager to provide information about teacher development by diagnosing there practice in accordance with job level . (2) Design of Development Plans in which teachers had to continuously and systematically took part in training having an efficiently systematic monitoring system. (3) Implementing Development Program in school where teachers had to participate in training at least twice a year, taking a study tour at least once a year both in and outside the country, having seminar every 3 months and getting an opportunity to continue study as deemed appropriate by Ministry of Education, in order to achieve a set goal with high efficiency. (4) Evaluation of the Personnel Development Program in which  schools were evaluated very year  in a clear and systematic manner with monitoring scheme run by the committee , in order to efficiently achieve a better standard.

Downloads

How to Cite

ลียงวา ส., & เจริญกุล ผ. (2015). แนวทางการพัฒนาครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาในนครหลวงเวียงจันทน์ แห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว). An Online Journal of Education, 10(3), 147–158. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35547