การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 3 ที่ประสบความสำเร็จ
Keywords:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารการศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3, ACADEMIC LEADERSHIP, SCHOOL ADMINISTRATOS, THE OFFICE OF SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3Abstract
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ที่ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ที่ได้รับรางวัลประราชทานปี 2551-2557 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 237 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 อยู่ในระดับมากในทุกรายด้าน โดยรายด้านที่มากที่สุด คือ ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ รองลงมา ได้แก่ ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน ทั้งนี้ด้านการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และเมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบย่อยพบว่า ด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการนิเทศและการประเมินผลการสอนของครู
The objective of this survey research was to study of the academic leadership of successful school administrators under the secondary educational service area 3 as perceived by 237 school administrators and teachers in the secondary educational service area 3’s schools which received royal award school year 2008 – 2014. The research instrument used in this study was a rating scale questionnaire. Data was analyzed using the SPSS program. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation.
As for the result of this research, it was found that overall the academic leadership of successful school administrators was rated at a high level Considering the main components, it was found that the academic leadership of successful school administrators are overall, at a high level, where the highest mean fell on the factor of promoting a positive school learning climate, followed by the factor of defining the school’s mission, and managing instructional programs receiving the lowest mean. Regarding the sub-factors, the element of providing incentives for learning obtained the highest mean while supervising and evaluating instruction obtained the lowest mean.