การศึกษาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ AEC ของผู้บริหาร ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่จังหวัดเพชรบุรี

Authors

  • พชระ พลอยทับทิม โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี สพม.10 ที่อยู่ 278 ถ.บันไดอิฐ ต.คลองกระแชง อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000
  • ผศ.ดร.นันทรัตน์ เจริญกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชา บริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

สมรรถนะ, เทคโนโลยีสารสนเทศ, COMPETENCY, INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLGY

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารกับครูที่มีต่อสมรรถนะด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ AEC ของผู้บริหาร  กรอบแนวคิดในการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาสมรรถนะด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร 3 ด้านคือ  ด้านความรู้  ด้านทักษะ และด้านเจตคติ  กลุ่มตัวอย่างคือ  ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 33 คน และ  ครูผู้สอน 246 คน  จาก 8 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที

        ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 3 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยสมรรถนะด้านเจตคติมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด  รองลงมาคือด้านทักษะและด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อสมรรถนะด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purposes of the research were to study and compare administrators and teachers’ opinions about the administrators   information technology competencies towards Asean Economics Community. The conceptual framework of this research was based on information technology competencies of administrators in knowledge, skills and attitudes. The sample population consisted of 33 administrators and 246 teachers from 8 large secondary  schools in Phetchaburi Province. The research instrument used in this study was a questionnaire. The data were analyzed using frequency distributes, percentage, mean ( x ),standard  deviation and t-test.

The research findings revealed that

    1. Information technology competencies of administrators were at a high level both overall and
in each aspect, ranking from the highest to the lowest : attitudes, skills and knowledge capacity.  

    2. The opinions of administrators and teachers were different at a significant level of .05.

Downloads

How to Cite

พลอยทับทิม พ., & เจริญกุล ผ. (2015). การศึกษาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ AEC ของผู้บริหาร ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่จังหวัดเพชรบุรี. An Online Journal of Education, 10(3), 189–198. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35550