แนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่เด็กต่างด้าวในโรงเรียนต้นแบบ คนพลัดถิ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

Authors

  • วีรภัทร รุ่งโรจน์นภาดล นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.ปองสิน วิเศษศิริ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การบริหาร, การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย, เด็กต่างด้าว, MANAGEMENT, LEARNING AND TEACHING THAI LANGUAGE, IMMIGRANT STUDENTS

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่เด็กต่างด้าวในโรงเรียนต้นแบบคนพลัดถิ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร  โดยใช้กรอบการวิจัย ดังนี้   1) PIE MODEL ประกอบด้วยการวางแผน (Planning) การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation)  และ 2) กรอบการบริหารการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย  การพัฒนาและการใช้หลักสูตร  การจัดการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผล  การจัดแหล่งเรียนรู้  และการติดต่อสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ประชากรที่ศึกษาได้แก่  โรงเรียนต้นแบบคนพลัดถิ่น ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 5  โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดศิริมงคล โรงเรียนวัดศรีสุทธาราม โรงเรียนหลวงแพทย์โกศล โรงเรียนเทพนรรัตน์ และโรงเรียนวัดบางหญ้าแพรก โดยผู้ให้ข้อมูลคือ 1. ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  5  คน  2. ครูผู้รับผิดชอบการสอนวิชาภาษาไทยจำนวน  50 คน  รวมทั้งหมดจำนวน 55 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย                   คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                และวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่เด็กต่างด้าวในภาพรวมไม่แตกต่างจากเด็กไทย ดังนี้  1.1 สภาพการวางแผน ด้านการจัดการเรียนการสอนให้เด็กต่างด้าวสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นสำคัญมากที่สุด   1.2 สภาพการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ด้านการจัดการเรียนการสอนให้ครูผู้สอนภาษาไทยมีการสอนเสริมให้แก่เด็กต่างด้าวมากที่สุด  1.3 สภาพการประเมินผล โรงเรียนมีการประเมินครูด้านการสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองของเด็กต่างด้าวมากที่สุด  2. แนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่เด็กต่างด้าว  มีดังนี้ 2.1 การวางแผน (Planning) โรงเรียนควรมีการวางแผนในการรับเด็กต่างด้าวเข้ามาในโรงเรียน 2. การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (Implementation) โรงเรียนควรมีการจัดสอนเสริมภาษาไทยให้แก่เด็กต่างด้าว 3. การประเมินผล (Evaluation) โรงเรียนควรมีการประเมินผลทักษะภาษาไทยด้านการอ่านออกเขียนได้ของเด็กต่างด้าวเป็นรายบุคคล

This research is purposed to study the state of The Management Approach learning and teaching Thai language of immigrant students in the diaspora master school, Samutsakhon Primary Educational Service Area Office, by the following methodologies : 1) PIE MODEL (Newby, Stepich, Lehman & Russell: 1996) consisted of Planning, Implementation and Evaluation, and 2) Learning and Teaching Management consisted of Curriculum implementation and development Learning and Teaching management   Measurement  and  Evaluation Learning Resources and Parents’ Support. The Population used in this research are  the 5 diaspora master schools of Primary level Samutsakhon Primary Educational Service Area Office, Samutsakhon Province; Watsirimongkol School, Watsrisutaram School Luangpatkosoluptum School, Thepnorrat School and Watbangyapreak School. Given data by 1) 5 School Directors and 2) 50 Thai Teachers. The tool used in this research is Questionnaire and Interview form. The data were analyzed by  frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis

The results Overall, the state of learning and teaching Thai language management of immigrant students is not different from Thai students The results showed that the school is : 1) Planing condition; Literacy is the most important need. 2) Implementation condition; Tuition is highest needed. And 3) Condition of Evaluation; The relation of teachers and parents is the first priority evaluated. Management guidelines of learning and teaching Thai language management of immigrant student. The results showed that the school is : 1) Planning : The school should be planning on getting immigrant student. 2) Implementation : The school be add to remedial teaching on begin the term. 3) Evaluation : The school should be individual assessment of reading skills.

Downloads

How to Cite

รุ่งโรจน์นภาดล ว., & วิเศษศิริ ผ. (2015). แนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่เด็กต่างด้าวในโรงเรียนต้นแบบ คนพลัดถิ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. An Online Journal of Education, 10(3), 199–209. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35552