กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนพานทอง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • รุ่งนภา โรจนไพฑูรย์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อ.ดร.ปิยพงษ์ สุเมตติกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

กลยุทธ์, การจัดการเรียนการสอน, ภาษาจีน, STRETEGIES, TEACHING AND LEARNING, CHINESE

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของโรงเรียนพานทอง จังหวัดชลบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์ประเด็นการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนพานทอง จังหวัดชลบุรีตามลำดับความต้องการจำเป็น และ (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนพานทอง จังหวัดชลบุรี โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 416 คน กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้กำหนดโดยคำนวณจากสูตรการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan (1970) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้จำนวน 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodifies) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัยพบว่า  สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียน   พานทอง จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นด้วยดัชนี PNImodified ได้เป็น (1) ด้านนักเรียน หรือผู้เรียน (2) ด้านครู หรือผู้สอน หรือวิทยากร (3) ด้านการจัดตั้งจุดประสงค์การสอน (4) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการใช้สื่อการสอน (6) ด้านการกำหนดเนื้อหา และด้าน    การวัดผลและประเมินผล และ (8) ด้านหลักสูตร หรือสิ่งที่จะสอน โดยมีด้านที่เป็นจุดอ่อน คือ นักเรียน หรือผู้เรียน และด้านครู หรือผู้สอน หรือวิทยากร  สำหรับกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนพานทอง จังหวัดชลบุรี ประกอบไปด้วยกลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์รอง 11 กลยุทธ์ และ วิธีดำเนินการ 59 วิธี

This study was conducted using a Mixed Method with the aim to study the present state, the desirable state, and the priority needs to Chinese Language Teaching and Learning strategies to The population of 416. Samples were determined by the results from the formula for determining sample size of Robert. V. Krejcie and Earyle W. Morgan (1970) Reliability level of 95% the 194 people The research instruments consisted of questionnaires and Quantitative data were analyzed by means of descriptive statistics to acquire frequency, percentage, mean and standard deviation. Qualitative data were analyzed by contents analysis and a Modified Priority Needs Index (PNImodified) technique to prioritize the needs

The results show that the desirable state of Chinese Language Teaching and Learning in terms of each aspect investigated was pursued at a high level by sorting needs with a PNI modified index. They were (1) Students (2) Teachers (3) The establishment of the teaching. (4) Teaching and Learning Activities  and the use of media. (6) The content and measurement and evaluation. (8) curriculum The most Weaknesses were related to Students and Teachers The Chinese Language Teaching and Learning strategies comprised 3 main strategies, 11 sub-strategies and 59 procedures

Downloads

How to Cite

โรจนไพฑูรย์ ร., & สุเมตติกุล อ. (2015). กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนพานทอง จังหวัดชลบุรี. An Online Journal of Education, 10(3), 235–245. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35555