การนำเสนอแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานครูโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Keywords:
การปฏิบัติงานครู, การพัฒนาการปฏิบัติงานครู, โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2, TEACHER PERFORMANCE, DEVELOPMENT TEACHER PERFORMANCE, YANNAWATEWITTAYAKOM SCHOOL UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICEAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกรณีโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาการปฏิบัติงานครู ตลอดจนนำเสนอแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานครูโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ประชากรผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม รวม 12 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ 3 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ ครู 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามโดยมีการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการพัฒนาการปฏิบัติงานครูโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.61, = 0.59) เมื่อพิจารณารายด้านมีค่าเฉลี่ยตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านการประเมินผลการพัฒนาบุคลากร 2) ด้านการนำแผนพัฒนาบุคลากรไปปฏิบัติ 3) ด้านการวางแผนการพัฒนาบุคลากร และ 4) การสำรวจและวิเคราะห์ในการพัฒนาบุคลากร สำหรับปัญหาการพัฒนาการปฏิบัติงานครูโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.23, = 0.89) เมื่อพิจารณารายด้านมีค่าเฉลี่ยตามลำดับดังนี้ 1) ด้านการสำรวจและวิเคราะห์ ในการพัฒนาบุคลากร 2) ด้านการประเมินผลการพัฒนาบุคลากร 3) ด้านการวางแผนการพัฒนาบุคลากร 4) ด้านการนำแผนพัฒนาบุคลากรไปปฏิบัติ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานครูโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคมจำแนกตามองค์ประกอบการพัฒนาการปฏิบัติงานจำนวน 36 ข้อ
The purpose of this survey research were to study the state and problems , and to propose guidelines for the development of teacher performance in Yannawatewittayakom school under Bangkok Educational Service Area 2. The population was 12 administrators included 4 school administrators and 8 heads of content departments. The samples was 65 school teachers. The tools for this research was questionnaire,verified content validity by qualified people. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation.
The research found that the state was at a high level ( =3.61,SD = 0.59) in the following order: 1) The evaluation of the teacher development. 2) The implementation of the plan. 3) The planning of the teacher development 4) Diagnosing development needs. The problem was at the medium level ( =3.23, = 0.89) in the following order: 1) Diagnosing development needs. 2) The evaluation of the teacher development. 3) The planning of the teacher development. 4) The implementation of the plan. And the research revealed 36 guidelines for the development of teacher performance.