กลยุทธ์การบริหารภาพลักษณ์ของโรงเรียนอนุบาลนานาชาติในกรุงเทพมหานคร
Keywords:
กลยุทธ์, กลยุทธ์การบริหารภาพลักษณ์, การบริหารภาพลักษณ์ของโรงเรียน, โรงเรียนอนุบาลนานาชาติ, STRATEGIES, IMAGE MANAGEMENT STRATEGIES, SCHOOL IMAGE MANAGEMENT, INTERNATIONAL KINDERGARTENAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์การบริหารภาพลักษณ์ของโรงเรียนอนุบาลนานาชาติในกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดลำดับความสำคัญของประเด็นการบริหารภาพลักษณ์ของโรงเรียนอนุบาลนานาชาติในกรุงเทพมหานคร และเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การบริหารภาพลักษณ์ของโรงเรียนอนุบาลนานาชาติในกรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ปกครอง จากโรงเรียนอนุบาลที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนานาชาติในระดับอนุบาลเพียงอย่างเดียวในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารภาพลักษณ์ของโรงเรียนอนุบาลนานาชาติ ในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันสูงที่สุด คือ คุณภาพการดำเนินการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสภาพพึงประสงค์สูงที่สุด คือ บรรยากาศในโรงเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ต่ำที่สุดเป็นด้านเดียวกัน คือ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ อุปกรณ์ 2) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารภาพลักษณ์ของโรงเรียนอนุบาลนานาชาติ ในกรุงเทพมหานคร ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ อุปกรณ์ ส่วนที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ ด้านค่าธรรมเนียม 3) กลยุทธ์การบริหารภาพลักษณ์ของโรงเรียนอนุบาลนานาชาติในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 12 กลยุทธ์รอง และ 51 วิธีดำเนินการ ได้แก่ กลยุทธ์เพิ่มศักยภาพของการบริหาร มี 6 กลยุทธ์รองและ 26 วิธีดำเนินการ กลยุทธ์พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมี 4 กลยุทธ์รองและ 10 วิธีดำเนินการ กลยุทธ์ยกระดับมาตรฐานการจัดการศึกษาในระบบนานาชาติ มี 4 กลยุทธ์รอง และ 15 วิธีดำเนินการ
This research aimed to study the current and desirable conditions of image management strategies of international kindergartens in Bangkok, to set the priority of the importance of image management strategies of international kindergartens in Bangkok and to propose strategies for image management strategies of international kindergartens in Bangkok. The population and participants for this research included 75 school administrators, faculties, and parents from international curriculum kindergartens that offered only kindergarten level in Bangkok under the supervision of the Office of the Private Education Commission (OPEC).The research instrument was a questionnaire. The collected data was analyzed by descriptive statistics, including percentage; mean scores; standard deviations; Modified Priority Needs Index (PNIModified) and content analysis. The results showed that 1) the current and desirable conditions of image management strategies of international kindergartens in Bangkok were high. When considering each aspect individually, it was found that the highest mean score for the current condition was “the performance quality,” while the highest mean score for the desirable condition was “the campus atmosphere.” The lowest mean score for both current and desirable conditions was “technologies used or available” 2) setting the priority of the importance of the image management strategies of international kindergartens in Bangkok, the results reveals that the highest PNIModified was “technologies used or available” while the lowest PNIModified was “the price charged”. 3) the proposed strategies for image management strategies of international kindergartens in Bangkok consisted of three major strategies, 1) Boosting the managerial potentials strategy with 6 minor strategies and 26 procedures, 2) Developing the managerial system by using technology strategy with 4 minor strategies and 10 procedures, and 3) Raising the managerial standards of international education strategy with 4 minor strategies and 15 procedures.