การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนร่วมตามกรอบโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ของโรงเรียนวัดด่านสำโรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
Keywords:
สภาพและปัญหา, การจัดการเรียนร่วม, โครงสร้างซีท, ด้านนักเรียน, ด้านสภาพแวดล้อม, ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน, ด้านเครื่องมือ, STATE AND PROBLEMS, INCLUSIVE EDUCATION, THE SEAT FRAMEWORK, STUDENT, ENVIRONMENT, ACTIVITIES, TOOLSAbstract
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนร่วมตามกรอบโครงสร้างซีท (SEAT Framework) และนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนร่วมตามกรอบโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ของโรงเรียนวัดด่านสำโรง ประชากรแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เป็นผู้บริหาร รองผู้บริหารโรงเรียน 3 คน ครูและครูพี่เลี้ยง 96 คน คณะกรรมการสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้รับแบบสอบถามคืนจากผู้บริหารและรองผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครูและครูพี่เลี้ยง 96 คน คณะกรรมการสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนร่วมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านนักเรียน (S-Students) ด้านสภาพแวดล้อม (E-Environment)ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A-Activities) และด้านเครื่องมือ (T-Tools) พบว่าโรงเรียนมีสภาพการจัดการเรียนร่วม ในภาพรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ในส่วนของปัญหาการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียน พบว่าในภาพรวมปัญหาการจัดการเรียนร่วมใน ด้านนักเรียน (S-Students) ด้านสภาพแวดล้อม (E-Environment) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A-Activities) และด้านเครื่องมือ (T-Tools) โรงเรียนมีปัญหาในจัดการเรียนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
The purpose of this research were 1) to study the current state and the problems in administration based on the SEAT framework and 2) to present some guidelines for administration based on the SEAT framework at Watdansamrong school. The populations were consisted of 3 groups: 3 administrators, 96 teachers and assistant teachers, 60 members of school board and parent association. The research instrument used in this study were questionnaires. The results were analyzed by descriptive statistics : frequency, percentage, mean and standard deviation. The findings indicated that the Inclusive Education in 4 aspects : Student, Environment, Activities and Tools of the school were over all practised at a high level while the problems in 4 aspects were found at a medium level.