กลยุทธ์การบริหารครูอัตราจ้างในโรงเรียนเทพศิรินทร์

Authors

  • มนต์สันต์ กองทิพย์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อ.ดร.ปิยพงษ์ สุเมตติกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

กลยุทธ์, การบริหาร, ครูอัตราจ้าง, STRATEGIES, MANAGEMENT, TEMPORARY TEACHERS

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์การวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารครูอัตราจ้างในโรงเรียนเทพศิรินทร์ 2) เพื่อวิเคราะห์ประเด็นการบริหารครูอัตราจ้างในโรงเรียนเทพศิรินทร์  ตามลำดับความต้องการจำเป็น 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การบริหารครูอัตราจ้างในโรงเรียนเทพศิรินทร์  โดยประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนเทพศิรินทร์  จำนวน 157 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาคิดเป็น ร้อยละ 95.54 วิเคราะห์ข้อมูล  โดยข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodifies) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารครูอัตราจ้างในโรงเรียนเทพศิรินทร์ ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นด้วยดัชนี PNImodified ได้เป็น 1) ด้านการให้ความมั่นคงและความยุติธรรมในงาน  2) ด้านการพัฒนาบุคลากรครูอัตราจ้าง  3) มี 2 ด้าน คือ ด้านการได้มาและการนำเข้าสู่หน่วยงาน  และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน  5) ด้านการจัดสวัสดิการและแรงจูงใจ  6) ด้านการกำหนดกรอบอัตรากำลังและการวางแผนกำลัง  ประกอบไปด้วยกลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์รอง 6 กลยุทธ์ และ วิธีดำเนินการ 39 วิธี

This study was conducted using a descriptive research method with the aim to study the present state, the desirable state, and the priority needs to strategies for the management of temporary teacher in Debsirin School. The population of this research is 157 executives and teachers in Debsirin school. The research instrument was a questionnaire which is a scale of approximately 5 charge level(Rating Scale) and the returning rate is 95.54%. Statistics used were descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation and qualitative data. The analytic statistics were Content Analysis and Modified Priority Needs Index (PNImodified) to prioritize the requirement of the management of temporary teacher.

The results show that the desirable state of management of temporary teacher in terms of each aspect investigated was pursued at a high level by sorting needs with a PNI modified index. They were   1) The security and fairness of temporary teacher. 2) The career improvement for temporary teacher. 3) The recruitment of temporary teacher and the performance evaluation of temporary teacher 5) The welfare and benefits for temporary teacher 6) The planning of manpower for temporary teacher.  The strategies for the management of temporary teacher comprised 3 main strategies, 6 sub-strategies and 39 procedures.

Downloads

How to Cite

กองทิพย์ ม., & สุเมตติกุล อ. (2015). กลยุทธ์การบริหารครูอัตราจ้างในโรงเรียนเทพศิรินทร์. An Online Journal of Education, 10(3), 438–451. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35570