กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายที่ 35 เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
Keywords:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, พฤติกรรมภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการ, INSTRUCTIONAL LEADERSHIP, EDUCATIONAL LEADERSHIP, SCHOOL ADMINISTRATORS, THE PIORITY NEEDS OF ACADEMIC LEADERSHIP DELVELOPMENT STRATEDY OFAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและที่พึงประสงค์ของการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จัดลำดับความสำคัญตามความต้องการจำเป็นของประเด็นการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน เครือข่ายที่ 35 เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คนและครู จำนวน 128 คน รวมทั้งสิ้น 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNIModified ผลการวิจัยพบว่า1) พฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการในสภาพปัจจุบันและที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน เครือข่ายที่ 35 เขตลาดกระบัง ในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและมากที่สุด 2) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน เครือข่ายที่ 35 เขตลาดกระบัง ในสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่าด้านที่มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การบริหารเวลาที่ใช้สำหรับการเรียนการสอน รองลงมา คือ ด้านการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครู ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ การพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานด้านวิชาการ 3) กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน เครือข่ายที่ 35 เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก จำนวน 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ปฏิรูปภารกิจของสถานศึกษาให้มีความชัดเจน ส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เสริมสร้างสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กลยุทธ์รอง 11 กลยุทธ์ และ 54 วิธี
This research aims to study the actual state and the desirable state of academic leadership development stratedy. The priority needs of academic leadership development stratedy. And proposed academic leadership development stratedy of school leaders in the 35th school network, ladkrabang,bangkok. The key informant of this study comprised of 9 Administrators and 128 teachers under Bangkok ONIE, total of 137 persons The research instrument used in this study was the 5 level rating scaled questionnaire. The data was analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, andPNIModified. The results of study were 1) The actual state and desirable state of academic leadership development stratedy of school leaders in the 35th school network,ladkrabang,bangkok in terms of the overall and each characteristic was practiced at a high level. 2) The priority needs of academic leadership development stratedy of school leaders in the 35th school network, ladkrabang,Bangkok found that the characteristic with the highest index needs was time management for teaching,while providing incentives to teachers and the development and promotion of academic standards were the characteristics with the lowest index needs. 3) The academic leadership development stratedy of school leaders in the 35th school network,ladkrabang,bangkok the main strategy Number 3: strategy, strategy of the reform Institute, is clear. Promote efficiency in the management of teaching and learning with an emphasis on learning as a priority. Strengthen the education of learning organization and strategy of secondary 11 strategy and the procedure is 54.