กลยุทธ์การสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรครูรุ่นใหม่กับโรงเรียน: กรณีศึกษา โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
Keywords:
กลยุทธ์, ความผูกพัน, STRATEGIS, ENGAGEMENTAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรครูรุ่นใหม่กับโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2) เพื่อวิเคราะห์และจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรครูรุ่นใหม่กับโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรครูรุ่นใหม่กับโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ประชากรในการวิจัย คือ ข้าราชการครูที่สอบบรรจุและเขียนย้ายเข้ารับราชการในโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ในปีการศึกษา 2549 ถึง 2557 จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการสร้างความผูกพันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุดตรงกัน คือ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันต่ำที่สุด คือ ด้านการได้รับความยุติธรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์ต่ำสุด คือ ด้านปริมาณภาระงาน 2) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรครูรุ่นใหม่กับโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการได้รับความยุติธรรม ส่วนด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ ด้านปริมาณภาระงาน 3) ได้กลยุทธ์การสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรครูรุ่นใหม่กับโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 9 กลยุทธ์รอง และ 58 วิธีดำเนินการ โดยกลยุทธ์หลักได้แก่ เสริมสร้างบุคลากรครูรุ่นใหม่ ส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และสนับสนุนปัจจัยขับเคลื่อนรูปแบบใหม่
The objectives of this research were: 1) to study the current and desirable condition of enhancing school engagement between new teachers and Bodindecha (Sing Singhaseni) school 2) to analyze and arrange priority needs of enhancing school engagement between new teachers and Bodindecha (Sing Singhaseni) school 3) to propose the strategies for enhancing school engagement of new teachers and Bodindecha (Sing Singhaseni) school. The population was 86 civil teachers who had been at the school between the academic Years 2006 to 2014. Research instruments included questionnaires. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNImodified). The results showed that 1) the current condition of enhancing school engagement was moderate level while the desirable condition was high. Considering each aspect individually, it was found that the highest mean scores for both conditions were the work safety. The lowest mean score for current condition was fairness and desirable condition was workload. 2) The results of arrange priority needs of enhancing school engagement showed that the highest was fairness and the lowest was workload. 3) Strategies for enhancing school engagement of new teachers and the school consisted of 3 major strategies, 9 minor strategies and 58 procedures. The 3 major strategies included for strengthening new teachers, promoting new creativity and supporting new movement.