การศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของแผนการเรียนภาษาจีนโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31

Authors

  • กนกวรรณ ศิริชัย สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.ชญาพิมพ์ อุสาโห อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การบริหารงานวิชาการ, แผนการเรียนภาษาจีน, โรงเรียนปากช่อง, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31, ACADEMIC ADMINISTRATION, CHINESE LANGUAGE PROGRAM, PAKCHONG SCHOOL, SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 31

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาการบริหารงานวิชาการ  และนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการ กรณีแผนการเรียนภาษาจีนโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ประชากรผู้ให้ข้อมูล คือ  ผู้บริหาร และครูโรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของแผนการเรียนภาษาจีนโรงเรียนปากช่องใน    ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.94,  = 0.12) เมื่อพิจารณารายด้านมีค่าเฉลี่ยตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านการประเมินผล 2) ด้านการนำแผนสู่การปฏิบัติ และ 3) ด้านการวางแผน สำหรับปัญหาการบริหารงานวิชาการของแผนการเรียนภาษาจีนโรงเรียนปากช่อง ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (= 2.16,  = 0.11) เมื่อพิจารณารายด้านมีค่าเฉลี่ยตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการประเมินผล 3) ด้านการนำแผนสู่การปฏิบัติ และแนวทางการบริหารงานวิชาการของแผนการเรียนภาษาจีน จำนวน 17 ข้อ จำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้ 1) ด้านการนำแผนสู่การปฏิบัติ จำนวน 7 ข้อ 2) ด้านการวางแผน จำนวน 6 ข้อ  3) ด้านการวัดและประเมินผล 4 ข้อ 

           The objective of this survey research is to study the practice and problems of academic administration and to purpose its guidelines. The research was conducted at the Department of Chinese Language, Pakchong School under Secondary Education Service Area 31, Office of Basic Education Commission. Forty-five school administrators and teachers were interviewed. The instruments used in this research were questionnaires based on check-lists and Likert scale with content validity evaluated by five academics. The collected data were analysed by using frequency, percentage, mean and standard deviation.

            The findings showed that the overall current practice of the academic administration of Chinese Language Department, Pakchong School was assessed as high (= 3.94,  = 0.12). According to the mean, the sorted aspects were 1) Evaluation 2) Implementation and 3) Planning. In the aspect of academic administration problems, the overall assessment was low (= 2.16,  = 0.11). The sorted aspects according to the mean were 1) Planning 2) Evaluation 3) Implementation. The administration guidelines for the department were then formulated. There are 17 points sorted as follows 1) Implementation (7 points) 2) Planning (6 points) and 3) Assessment and Evaluation  (4 points).     

Downloads

How to Cite

ศิริชัย ก., & อุสาโห ผ. (2015). การศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของแผนการเรียนภาษาจีนโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. An Online Journal of Education, 10(3), 531–540. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35576