การศึกษาการปฏิบัติงานตามคู่มือการจัดการศึกษาสำหรับเด็กต่างด้าว: กรณีศึกษาโรงเรียนที่มีเด็กต่างด้าวมากที่สุดในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย

Authors

  • รินทร์วดี ไพบูลย์รังสี สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.ปองสิน วิเศษศิริ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

แนวปฏิบัติงานตามคู่มือ, เด็กต่างด้าว, METHOD IN IMPLEMENTATION, IMMIGRANT STUDENTS

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานตามคู่มือการจัดการศึกษาสำหรับเด็กต่างด้าว 2) เสนอแนวทางการปฏิบัติงานตามคู่มือฯที่เหมาะสม กรอบการวิจัยการปฏิบัติตามคู่มือฯ มี 4 เรื่อง คือ (1) วิธีการรับนักเรียนเข้าเรียนในสถานศึกษา (2) ระหว่างนักเรียนอยู่ในสถานศึกษา (3) การย้ายที่เรียนระหว่างปี (4) จบการศึกษา ประชากร คือโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่างด้าวมากที่สุดในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดที่มีเด็กต่างด้าวมากที่สุดในแต่ละภาคของประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามคู่มือฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครู และแบบสัมภาษณ์สำหรับหัวหน้าฝ่ายทะเบียนและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนที่ดูแลโรงเรียนที่มีเด็กต่างด้าว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยในภาพรวม ทั้ง 4 เรื่อง พบว่า มีสภาพการปฏิบัติงานตามคู่มืออยู่ในระดับมาก และมีปัญหาในการปฏิบัติตามคู่มืออยู่ในระดับน้อยที่สุด แต่มีสภาพและปัญหาการปฎิบัติตามคู่มือในรายข้อย่อยในระดับที่แตกต่างกันออกไป

และ 2) แนวทางการปฏิบัติงานตามคู่มือฯ ที่เหมาะสมในภาพรวม คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลเด็กต่างด้าวในประเทศไทยโดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลอย่างสะดวก รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์

The objectives of this research are 1) to study the current state and the problems occurring in the implementation following the manual and method of basic education administration for immigrant students and 2) to purpose the appropriate guidelines for implementation following the manual. The research framework consisted of 4 categories: 1) Enrollment of students in schools, 2) Implementations occurred while students were in school, 3) implementation for transferring students and 4) implementation for graduating students. The population of this study was schools that have the highest number of immigrant students in the Primary Educational Service Area Office in the province that has the highest number of immigrants from each part of the region of Thailand. The informants were school administrators and persons in charge of the implementation following the manual. The research instrument used was a questionnaire containing a checklist form and open-ended questions. Data was analyzed with frequency, percentage mean score and content analysis.

                The findings indicated that 1) the current state and problems in the implementation following the manual for each category: (1) Enrollment of students was practiced at a high level and there were few problems found. (2) Implementations occurred while students were in school were practiced at a high level and there were few problems found. (3) Transferring student implementation was practiced at a high level and there were few problems found. (4) Graduating student implementation was practiced at a high and there were no problems found. 2) The guideline for implementation following the manual was to let all related government offices use information and technology in developing the database of immigrant students in order to help in accessing data fast, convenient and in timely manner.

Downloads

How to Cite

ไพบูลย์รังสี ร., & วิเศษศิริ ผ. (2015). การศึกษาการปฏิบัติงานตามคู่มือการจัดการศึกษาสำหรับเด็กต่างด้าว: กรณีศึกษาโรงเรียนที่มีเด็กต่างด้าวมากที่สุดในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย. An Online Journal of Education, 10(3), 567–577. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35579