การศึกษาการดำเนินงานด้านการบริการอนามัยโรงเรียนสำหรับเด็กต่างด้าว ในโรงเรียนต้นแบบคนพลัดถิ่น

Authors

  • วลัยพันธ์ ฉลาดอักษรสิทธิ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.ปองสิน วิเศษศิริ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

งานบริการด้านอนามัยโรงเรียน, เด็กต่างด้าว, โรงเรียนระดับประถมศึกษา, SCHOOL HEALTH SERVICES, IMMIGRANT STUDENTS, PRIMARY SCHOOL

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานด้านการบริการอนามัยโรงเรียนสำหรับเด็กต่างด้าว 2) เสนอแนวทางการดำเนินงานด้านการบริการอนามัยโรงเรียนสำหรับเด็กต่างด้าว กรอบการวิจัย คือ การบริการอนามัยโรงเรียน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การตรวจสุขภาพ 2) การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ และ 3) การจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  ประชากร คือ โรงเรียนต้นแบบคนพลัดถิ่นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครูอนามัยโรงเรียน ครูผู้สอน และผู้ปกครองเด็กนักเรียนต่างด้าว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์นื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานด้านการบริการอนามัยโรงเรียนสำหรับเด็กต่างด้าวในภาพรวม โรงเรียนมีการดำเนินงานครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน โดยด้านการตรวจสุขภาพเป็นด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด และโรงเรียนให้ความสำคัญมากที่สุด  ส่วนปัญหาพบว่ามีปัญหาทั้ง 3 ด้าน โดยปัญหาเกิดจากการสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและเด็กนักเรียนต่างด้าว ซึ่งใช้ภาษาต่างกัน และด้านการจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้นเป็นด้านที่มีปัญหามากที่สุด  2) แนวทางการดำเนินงานด้านการบริการอนามัยโรงเรียนสำหรับเด็กต่างด้าวมีดังนี้ (1) แนวทางการตรวจสุขภาพ ควรสนับสนุนให้มีการคัดเลือกครูอนามัยโรงเรียนที่มีวุฒิปริญญาตรีทางพยาบาล หรือถ้าไม่มีโดยตรงโรงเรียนควรจัดครูที่ผ่านการอบรมด้านอนามัยโรงเรียนให้รับผิดชอบหน้าที่นี้ (2) ครูอนามัยโรงเรียนที่มีวุฒิปริญญาตรีทางพยาบาล หรือถ้าไม่มีโดยตรงโรงเรียนควรจัดครูที่ผ่านการอบรมด้านอนามัยโรงเรียนให้รับผิดชอบหน้าที่นี้แนวทางการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ ควรส่งเสริมการจัดโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่เด็กนักเรียนต่างด้าวอย่างต่อเนื่อง โดยครูและผู้ปกครองช่วยกันดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียน และ (3) แนวทางการจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ควรส่งเสริมให้นักเรียน และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม 

The purpose of the study are 1) to study the current conditions and problems in the health services  operation for immigrant students in schools  and 2) propose guidelines for the health services  operation for immigrant students in schools. The research framework was 3 categories of health services in school: 1) Health checkup 2) Health surveillance and 3) The primary healthcare. The population was the diaspora model school under Samut Sakhorn Basic Educational Service Area Office. The informants consisted of school administrators, health service teachers, school teachers and parents of migrant children. The instrument used in this research was a structured interview.  Data were analyzed by content analysis. 

The results are revealed as follows: 1) the operation of health services for immigrant students in general. School has operations cover three areas: Health checkup had the highest operation and school considered it to be the most important category. While problems were found in all categories, mainly because of using different languages, so there were communication problems between school and immigrant parents and students. The primary healthcare had the highest problem.  2) Guidelines for the operation on school health services for immigrant students were: (1) Health checkup: support for school health teachers to attend School Health workshop and training regularly. (2) Health Surveillance: promotion of projects and activities that is beneficial to health. Continue educate about health care for immigrant students with teachers and parents help in taking care of students’ health. (3) Primary healthcare services: encourage students and community involvement.

Downloads

How to Cite

ฉลาดอักษรสิทธิ์ ว., & วิเศษศิริ ผ. (2015). การศึกษาการดำเนินงานด้านการบริการอนามัยโรงเรียนสำหรับเด็กต่างด้าว ในโรงเรียนต้นแบบคนพลัดถิ่น. An Online Journal of Education, 10(3), 578–588. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35580