การศึกษาการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ ในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน
Keywords:
การบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ, โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา, รางวัลพระราชทาน, CURRICULUM AND ACADEMIC ADMINISTRATION, PRIVATE PRIMARY SCHOOL, ROYAL AWARDAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนเอกชน จำนวน 3 โรง ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และหัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวม 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกต และแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอข้อมูลเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหาร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตร กำกับ ติดตาม และนิเทศ การใช้หลักสูตร และมีการประเมินการใช้หลักสูตรโดยนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรทุกปีการศึกษา 2) ครูผู้สอนวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล นำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาพัฒนานักเรียน วางแผนและเตรียมการจัด การเรียนการสอนให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ 3) ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการวัดประเมินผล รายงานผลการประเมิน และนำผลการประเมินมาพัฒนานักเรียน 4) ผู้บริหารจัดบริการและส่งเสริมให้ครูผลิต แลกเปลี่ยน และเพิ่มพูนความรู้ในการใช้สื่อการเรียนรู้ 5) ครูผู้สอนจัดกิจกรรมตามความสนใจของนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะและส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนจัดบริการเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหานักเรียน 6) ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากร ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และจัดกิจกรรมให้ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโดยจัดเป็นโครงการและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
The purpose of this research was to study the curriculum and academic administration in private primary schools with the Royal Award in Bangkok. Purposive sampling was used and three private schools samples. The data was obtained from the administrators and staff in total of 45. The instruments used were semi-structured interviews, observation forms, and documents study. The data was analyzed by content analysis and proposed in descriptive presentation.
The research findings were as follows: 1) The administrators and academic staff directed, monitored and supervised the curriculum implementation and brought the assessment result to improve the curriculum in each academic year. 2) The teachers analyzed the students individually, plan and manage the teaching and learning preparation to make students think critically and practise. 3)The administrators encouraged the teachers to be knowledgeable in measurement and evaluation, reported the results and applied them. 4) The administrators provided the service and encouraged the teachers to share and improve themselves in learning material using. 5) The teachers provided activities based on students’ interests to develop their skills and encourage desired characteristics including providing services to solve the students’ problems. 6) The administrators, teachers, and staff supported and provided activities to fulfil students’ learning through projects and expanded learning resources in schools.