การศึกษาทักษะการนิเทศการสอนของผู้นิเทศตามการรับรู้ของตนเอง และของครูโรงเรียนเทพลีลา
Keywords:
ทักษะระหว่างบุคคล, ทักษะทางเทคนิค, INTERPERSONAL SKILLS, TECHNICAL SKILLSAbstract
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.เพื่อศึกษาทักษะการนิเทศการสอนของผู้นิเทศในโรงเรียนเทพลีลา
ตามการรับรู้ของตนเองของผู้นิเทศ 2.เพื่อศึกษาทักษะการนิเทศการสอนของผู้นิเทศในโรงเรียนเทพลีลา ตามการรับรู้ของครูผู้รับการนิเทศ 3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการนิเทศการสอนของผู้นิเทศในโรงเรียนเทพลีลา ระหว่างการรับรู้ของตนเองของผู้นิเทศและตามการรับรู้ของครูผู้รับการนิเทศ ประชากรคือผู้นิเทศการสอนในโรงเรียนเทพลีลา จำนวน 17 คน และครูผู้สอนในโรงเรียนเทพลีลาจำนวน 90 คน รวม 107 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการหาค่า (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1) ตามการรับรู้ของตนเองของผู้นิเทศ ผู้นิเทศมีทักษะการนิเทศในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ตามการรับรู้ของครูผู้รับการนิเทศ ผู้นิเทศมีทักษะการนิเทศอยู่ในระดับปานกลาง 3) เปรียบเทียบทักษะการนิเทศของผู้นิเทศตามการรับรู้ของตนเองและตามการรับรู้ของครูผู้รับการนิเทศ จำแนกตามทักษะการนิเทศ พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 2 ทักษะ
The study aimed to 1) examine the instructional supervisory skills of supervisors at Thepleela School as perceived by themselves 2) examine the instructional supervisory skills of supervisors at Thepleela School as perceived by teachers who were the supervisees 3) compare between the perception of the supervisors themselves and the perception of teachers who were the supervisees toward the instructional supervisory skills of supervisors at Thepleela School.
There were 107 participants which included 17 supervisors and 90 teachers of Thepleela School. The instruments used in this study comprised of two questionnaires and the data were analyzed using mean (x̄ ), standard deviation (SD) and t-test. The study found that 1) as perceived by the supervisors themselves; their overall instructional supervisory skills were at highest level 2) as perceived by teachers who were the supervisees; the instructional supervisory skills of supervisors were at moderate level 3) the comparison between the instructional supervisory skills as perceived by the supervisors themselves and as perceived by the teachers who were under supervision which considered by type of the supervisory skills shown the statistically significant differences at .05 in both skills.