การศึกษาการดำเนินงานการนิเทศการสอนของโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์

Authors

  • ทัศนา อัสดงพงพนา สาขานิเทศการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ. ดร. จุไรรัตน์ สุดรุ่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การนิเทศการสอน, คณะกรรมการนิเทศการสอนเพื่อการพัฒนา, โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์, supervision, committee members of Instructional Supervision for Development, Saint Joseph Convent School

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานการนิเทศการสอนของโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ คณะกรรมการนิเทศเพื่อการพัฒนา จำนวน 50นคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม  มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์มีการตั้งคณะกรรมการนิเทศการสอน มีหน้าที่ในการสังเกตการสอน ประเมินผลการนิเทศการสอนภายในโรงเรียน การกำหนดแผนงานการนิเทศการสอนดำเนินการโดย หัวหน้างานนิเทศการสอนภายในโรงเรียนเท่านั้น  โดยใช้ข้อมูลนโยบายและรายงานการปฏิบัติงานของโรงเรียน เครื่องมือในการนิเทศการสอนในโรงเรียนเป็นแบบบันทึกการสังเกตการสอนเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ใช้กระบวนการนิเทศการสอนมี 3 ขั้นตอน คือ การประชุมเพื่อวางแผน การสังเกตการสอน และการประชุมให้ข้อมูลย้อนกลับ วิธีที่ใช้ในการประเมินผลคือ ให้ผู้นิเทศรายงานหลังการนิเทศการสอนทุกครั้ง ช่วงเวลาในการประเมินผลการจัดการนิเทศการสอนคือ หลังการนิเทศการสอน และคณะกรรมการร่วมประชุมอภิปรายให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุง

The objective of this research was to study the operation of the instructional supervision in Saint Joseph Convent School. The population of the study consisted of 50 committee of instructional supervision for Development. The tool used in this study was a checklist questionnaire. The information and data were analyzed by frequency distribution and percentage.

The findings revealed that the Saint Joseph Convent school has settled the committee of supervisors to observe and evaluate the instructional supervision, and to plan the instructional supervision, which were conducted only by the head of instructional supervision by referring to the policy and performance reports of the school. The tools in conducting the instructional supervisions are teaching observation forms in both quantitative and qualitative approaches. The instructional supervision process consisting of 3 stages: a meeting for planning, a teaching observation , and a meeting for reflection. The evaluation method was that the instructional supervisor report after every instructional supervision conducted. The evaluation period was after the instructional supervision, and the committee of instructional supervision were also participating to give comments and/ or suggestions.

Downloads

How to Cite

อัสดงพงพนา ท., & สุดรุ่ง ผ. ด. จ. (2015). การศึกษาการดำเนินงานการนิเทศการสอนของโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์. An Online Journal of Education, 10(4), 1–13. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35606