การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนโยธินบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1

Authors

  • จินรีย์ ตอทองหลาง สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา ที่อยู่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.จุไรรัตน์ สุดรุ่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชา นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, คณะกรรมการบริหารหลักสูตร, ครูผู้สอน, ENRICHMENT SCIENCE CLASSROOM, COMMITTEE, TEACHER

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ในโรงเรียนโยธินบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 ประชากร คือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร  และครูผู้สอนหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1) งานบริหารหลักสูตร พบว่า ภาพรวมของการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดครูเข้าสอนมีการปฏิบัติมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 สภาพปัญหา พบว่า อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดบริการวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน มีปัญหามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.78  2) งานสอน พบว่า ภาพรวมของการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนการสอน มีการปฏิบัติมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 สภาพปัญหา พบว่า อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.06 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการทำความเข้าใจหลักสูตรและปรับให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น มีปัญหามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.40

The objective of study was to examine states and problems of the implementation of Enrichment Sciences Classroom Program in Yothinburana School under the Secondary Educational Service Area Office1.The population was curriculum administrative committee, teachers in Enrichment Sciences Classroom Program in total of 66 persons. To collect data, the researcher used rating-scale questionnaires. The information and data were analyzed for frequency, distribution, percentage, mean, and standard deviation.The findings revealed as follows 1) In Curriculum Management, it was found that the overall management was in a high level, with a mean of 4.20. After considering in each aspect, it was found that the task in assigning teachers to the class was most performed. The mean was 4.63. Regarding problems, the mean was 2.20 which was in a low level. After considering of each aspect, the management of instructional and learning materials was the most problematic. The mean was at 2.78.2) In Teaching, it was discovered that the overall management was in a high level, with a mean of 4.04. After considering in each aspect, it showed that preparing teaching plans was the most performed.The mean was 4.16.Regarding problems, the mean was 2.06 which was in a low level. After considering of each aspect, understanding the program and making an adjustment in accordance with the conditions and needs of its area were the most problematic. The mean was at 2.40

Downloads

How to Cite

ตอทองหลาง จ., & สุดรุ่ง ผ. (2015). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนโยธินบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. An Online Journal of Education, 10(4), 14–26. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35607