การประเมินการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์รังสิต ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Authors

  • ยุภาภรณ์ จีระออน สาขานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์ ดร.เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การนำหลักสูตรไปใช้, การประเมิน, หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, CURRICULUM IMPLEMENTATION, EVALUATION, THAI ELEMENTARY SCHOOL CURRICULUM

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์รังสิต ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาไทยและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีที่ 4 และปีที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบประเมินการใช้หลักสูตร จำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา หาความถี่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน พบว่า โรงเรียนมีการวางแผนการใช้หลักสูตร การจัดทำกำหนดการสอน การจัดทำเอกสารหลักสูตร ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 2) การจัดปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อการใช้หลักสูตร พบว่า การจัดบุคลากร การจัดตารางสอน การจัดสถานที่     การจัดสื่อ วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 3) การจัดการเรียนการสอน พบว่า การเตรียมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

This research aims to evaluate the result of the implementation of the Thai Language Curriculum of the elementary education level held at Boriboonsilp-rangsit Elementary School.  The sampling groups comprising school administrators, teachers teaching Thai and the students in prathom 2, 4 and 6 totalled 159. The tools used were 3 different sets of questionnaires evaluating curriculum implementation. Data analysis was done by using content analysis frequency, mean, and standard deviation. The result  of the analysis were as follows: (1) the application of the curriculum to the teaching , the creation of teaching plans, teaching schedules and the production of curriculum materials was at a high level, (2) for the arrangements of learning and teaching factors as well as  of environments for curriculum implementation,  the result showed that the managements of school manpower, teaching schedules, venue allocation and utilization, and teaching and learning media and aids were at a high level, (3) in terms of learning and teaching management, it was found that the teaching and learning preparation, the teaching and learning activities  together with their supplementary activities, and the evaluation and assessment, the results were also at a high level.

Downloads

How to Cite

จีระออน ย., & ขมวัฒนา อ. ด. (2015). การประเมินการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์รังสิต ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. An Online Journal of Education, 10(4), 51–60. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35610