การศึกษาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนราชินี
Keywords:
การใช้หลักสูตร, คณิตศาสตร์, CURRICULUM IMPLEMENTATION, MATHAMETICSAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนราชินี ผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 3 คน และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สำหรับผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
ด้านงานบริหารหลักสูตร ผู้บริหารศึกษาวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรต่างๆ จัดเตรียมบุคลากร จัดครูเข้าสอน จัดตารางสอน จัดบริการวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน จัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆแก่ผู้ใช้หลักสูตร นิเทศติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร และประชาสัมพันธ์หลักสูตรแก่ผู้ปกครองและชุมชน ปัญหาที่พบ ได้แก่ ครูเกษียณและครูลาออก มีกิจกรรมอื่นแทรกทำให้การนิเทศไม่เป็นไปตามกำหนด
ด้านงานสอน ครูผู้สอนปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพของโรงเรียน จัดทำแผนการสอนโดยศึกษาและกำหนดบทเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตร จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายในการพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาเป็นและมีกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดำเนินการพัฒนาและใช้สื่อการเรียนรู้ จัดสอนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคล ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ปัญหาที่พบได้แก่ โรงเรียนมีกิจกรรมหลายอย่างทำให้การสอนไม่เป็นไปตามแผน สื่อการเรียนการสอนบางอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และนักเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่างกัน
This research aims to study the state and problems of Mathematics curriculum implementation at elementary level in Rajini school. The respondents are the director, the assistant academic director, head of Mathematics department and 6 Math teachers. The research instruments were 4 semi-structured interview forms for the administrators and Math teachers. The data was analyzed by content analysis and then presented by description.
The research finding were as follows : 1) Curriculum administration : The administrators studied and analyzed curriculum and curriculum documents, provided staffs, assigned teachers to class, set teaching schedule, serviced materials and medias, provided facilities, supervised and evaluated curriculum implementation and presented curriculum to the parents and the community. There were problems: Some teachers retired or some resigned and interrupting of other activities as a result supervision was not following the schedule. 2) Instruction : Teachers modified curriculum according to the school state , planned the lessons by studying and defining the contents in the curriculum, organized various learning activities for improving thinking skills, analysis and solving the problems, arranged extra curricular activities, developed and used media materials, set remedial teaching for students individually and used evaluate them frequently. There were problems: Many school activities as a result class schedule, ineffective medias and the students’ readiness was different.