การศึกษาการจัดการนิเทศการสอนในโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

Authors

  • กิตติพันธุ์ มิตรเจริญ สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.จุไรรัตน์ สุดรุ่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

นิเทศการสอน, INSTRUCTIONAL SUPERVISION

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการจัดการนิเทศการสอนในโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประชากรคือ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการงานนิเทศการเรียนการสอน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้ช่วยหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้นิเทศ จำนวน 193 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1) การเตรียมการจัดการนิเทศการสอน ด้านการวางแผน จัดทำเป็นนโยบายการปฏิบัติงานของฝ่ายวิชาการ มีการสำรวจความต้องการจำเป็นทางด้านการนิเทศการสอนโดยการอภิปรายกันในกลุ่มผู้บริหาร บุคลากรผู้มีส่วนร่วมในการวางแผนคือ คณะกรรมการนิเทศการเรียนการสอน มีการกำหนดช่วงเวลาการนิเทศการสอนจากความต้องการร่วมกันของครูผู้สอนและผู้นิเทศจำนวน 2 ครั้งต่อภาคการศึกษา ด้านการเตรียมบุคลากรในการนิเทศ คณะกรรมการงานนิเทศการเรียนการสอนจะพิจารณาคุณสมบัติ ประสบการณ์ด้านการนิเทศการสอน มีการให้ความรู้แก่บุคลากรผู้มีส่วนร่วมในการนิเทศการสอนโดยจัดให้มีการศึกษาดูงาน ด้านการเตรียมงบประมาณเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์สำหรับการนิเทศการสอน ส่วนใหญ่จัดสรรจากงบประมาณประจำปีของโรงเรียนและมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการนิเทศการสอน โรงเรียนมีการสร้างเครื่องมือใช้เอง

2) การดำเนินการนิเทศการสอน ด้านเทคนิควิธีการนิเทศการสอนส่วนใหญ่ใช้การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เทคนิคและวิธีการในการนิเทศตามข้อตกลงระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศเครื่องมือที่ใช้คือแบบสังเกตการสอน  ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการนิเทศการสอนจะสนับสนุนให้ครูมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานโดยการสร้างความเข้าใจให้ทราบถึงเป้าหมายของการนิเทศอย่างแท้จริง มีการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ผลงานการนิเทศการสอนในโรงเรียนโดยการจัดประชุมเพื่อแจ้งผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ ด้านการติดตามผลการดำเนินการนิเทศการสอนโดยการประชุมปรึกษาหารือเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน

3) การประเมินผลการจัดการนิเทศการสอนผู้ประเมินคือ คณะกรรมการนิเทศการเรียนการสอน โดยกำหนดเวลาการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดแต่ละภาคเรียนและแจ้งผลการประเมินโดยการบอกเป็นรายบุคคล มีการนำประโยชน์จากการสรุปผลการประเมินการจัดการนิเทศการสอนไปพัฒนาครูให้ตรงกับความต้องการจำเป็น

The purposes of this research were to study the instructional supervision management at Assumption Samutprakarn School under the office of the private education commission. The population consisted of an academic administrator, deputy of academic administrators, committees of instructional supervision, heads of a subject area, assistant of heads of the subject area and supervising teachers. The research instrument was a checklist, open end and data analysis through frequency distribution and percentage computation.

The research found the following; 1) Instructional Supervision Preparation. Planning; There were assessments through school administrator discussion as well as supervision scheduling mutually defined by teachers and supervisors; the instructional supervision was conducted by each teacher twice a year. Supervising staff preparation; most of the instructional supervisors were instructional supervision committees who have experienced in supervision. Study visitation is used to provide related staff knowledge and understanding of the supervision, Financing and resource, most of the budget was from the annual school budget. There were supervision instruments specially created by the school as well as CCTV used as a supervisory material, 2) Instructional Supervisory Operation. Instructional supervisory techniques; the school defined the objectives of techniques and means of instructional supervision upon supervisor and supervisee agreements. The instrument used in the supervision was an observational instrument. Instructional supervision implementation supports; the school provides a moral support for teachers conducting in-school supervision by building the understanding of the authentic goals of supervision as well as internally publicizing the results through frequent conferences. Instructional supervision process monitoring, the school held the meeting at the end of the year.

3) Instructional Supervision Evaluation. Instructional supervision committees evaluated teachers’ instruction at the end of each semester, and then directly informed teachers individually. Also, the school made use of the evaluation results to develop teachers responsively to their needs.

Downloads

How to Cite

มิตรเจริญ ก., & สุดรุ่ง ผ. (2015). การศึกษาการจัดการนิเทศการสอนในโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. An Online Journal of Education, 10(4), 85–99. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35613