การพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา: การทดลองแบบอนุกรมเวลา
Keywords:
ความยึดมั่นผูกพันกับการเรียน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การทดลองแบบอนุกรมเวลา, STUDENT ENGAGEMENT, ACHIEVEMENT, A TIME SERIES EXPERIMENTAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ในแต่ละช่วงเวลาของการทดลอง ตัวอย่างวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รวม 70 คน แบบการวิจัยเป็นการศึกษาสองกลุ่มวัด 7 ครั้งแบบอนุกรมเวลา เครื่องมือวิจัยคือ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น แบบสอบถามความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนวิชาภาษาไทย และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยแบบคู่ขนาน 7 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบวัดซ้ำ (one-way repeated measures MANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย มีชื่อว่า โปรแกรม 3L ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่จะนำไปบูรณาการกับช่วงต่างๆของกระบวนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (1) การมองภาพรวม (LOOK) (2) การสร้างแรงจูงใจ (LIKE) (3) การรักและหลงใหลในสิ่งที่เรียน (LOVE) 2) นักเรียนที่เรียนแบบใช้โปรแกรม 3L มีความยึดมีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างและหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมถึงมีความคงทนของความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนวิชาภาษาไทยหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน
The purpose of this research were 1) to create and develop the program for enhancing student engagement and Thai language learning achievement 2) to compare student engagement and Thai language learning achievement before and after the program in the period of experiment. The sample group consisting of 70 students in third in Chulalongkorn University Demonstration Elementary School. They were divided into two groups with 7 time series quasi-experimental research. The research instruments consisted of the developed program, a questionnaire of student engagement, and 7 Thai achievement tests in parallel. For data analysis, one-way repeated measures MANOVA.
The results showed as follows 1) The program for enhancing student engagement and Thai language learning achievement name was “3L program” consisted of 3 steps which to be integrate with the process of learning such as (1) The overall perspective (LOOK) (2) The motivation and 3) The love and passion for learning (LOVE). 2) The students studying with 3L program had student engagement and Thai language learning achievement between and after higher than before the experiment and higher than the students studying in normal class at statistically significant level .05. And they had learning retention of student engagement after the experiment at statistically significant level .05. But Thai language learning achievement cannot clear summary.