อัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาครู:การประเมินความต้องการจำเป็น

Authors

  • นนท์ชนิตร อาชวพร สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.อวยพร เรืองตระกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

อัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรม, การประเมินความต้องการจำเป็น, ครูในศตวรรษที่ 21, INNOVATIVE TEACHER IDENTITY, A NEEDS ASSESSMENT, TEAC HER IN THE 21 st CENTURY

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมของนิสิตนักศึกษาครู 2) พัฒนาเครื่อง มือวัดอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมของนิสิตนักศึกษาครู และ 3) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมของนิสิตนักศึกษาครู ตัวอย่างวิจัยเป็นนิสิตนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยในกำกับและในสังกัดของรัฐบาลที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และกำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 348 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบวัดอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้กลุ่มวิธีกำหนดน้ำหนักความต้องการจำเป็น Weight needs index (WNI) 

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1)    อัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมประกอบด้วย 2 ทักษะที่จำเป็นมากที่สุดต่อการเป็นครูในศตวรรษที่ 21 คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้

2)    เครื่องมือมีคุณภาพดี ความตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนี IOC อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูง ส่วนค่าอำนาจจำแนกดี สามารถจำแนกคนที่มีอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสูงและต่ำได้

นักศึกษาครูของมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุด รองลงมาคือ นิสิตครูของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามลำดับ

The purposes of this research were to 1) explore an innovative teacher identity 2) develop an instrument to measure innovative teacher identity and 3) analyze needs of developing innovative teacher identity of student teachers. The sample consisted of 348 student teachers from Faculty of Education in the Public Universities in Bangkok. Data were collected through innovative teacher identity for the 21st century format questionnaire. Descriptive analysis and Weight Needs Index (WNIc) were used for the data analysis.

The research findings were as follow

1)    Innovative teacher identity combines two necessary skills in the 21st century, ability to use ICT for creating learning innovation and creation and innovation for learning management.

2)    The content validity was between 0.60 – 1.00. All model fit statistics fell within acceptable range. The reliability as the overall and each subscale were relatively high. The overall scale was 0.932. The scale could discriminate to high and low group as well.

3)    Student teachers at Ramkamhang University need developing innovative teacher identity the most follow by student teachers at Chulalongkorn, Kasetsart and Srinakharinwirot University orderly.

Downloads

How to Cite

อาชวพร น., & เรืองตระกูล ร. (2015). อัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาครู:การประเมินความต้องการจำเป็น. An Online Journal of Education, 10(4), 125–138. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35615