อิทธิพลของการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิดและความสามารถด้านการนิเทศที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตนักศึกษาครูโดยมีการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน

Authors

  • ปารมี ตีรบุลกุล สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การปฏิบัติสะท้อนคิด, ความสามารถในการนิเทศ, การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์, การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน, REFLECTIVE PRACTICES/ SUPERVISION ABILITY, CREATIVE PROBLEM SOLVING, CLASSROOM ACTION RESEARCH

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุแบบส่งผ่านโดยมีตัวแปรการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิดและความสามารถด้านการนิเทศที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์  2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะอิทธิพลทางตรงของการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิดและความสามารถด้านการนิเทศไปยังการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาครู และอิทธิพลทางอ้อมที่มีการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ไปยังการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตที่อยู่ในช่วงฝึกประสบการณ์วิชาชีพจำนวน 353 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.802 – 0.898 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล

ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุแบบส่งผ่านโดยมีตัวแปรการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิดและความสามารถด้านการนิเทศที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square= 30.930, df = 30, p = 0.085, GFI = 0.979, AGFI = 0.954, RMR = 0.015, RMSEA = 0.033) 2) โมเดลเชิงสาเหตุแบบส่งผ่านโดยมีตัวแปรการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิดและความสามารถด้านการนิเทศที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นโมเดลที่มีการส่งผ่านแบบบางส่วน โดยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงจากการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิดและความสามารถด้านการนิเทศเท่ากับ .04 และ.02 ตามลำดับ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมผ่านการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เท่ากับ .31และ .57 ตามลำดับ ทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purpose of this research were as follows 1) to develop the causal and effect model of reflective practices and supervision ability on classroom action research of student teachers with creative problem solving as a mediator and validate the model with empirical data 2) to analyze the direct effect of reflective practices and supervision ability to classroom action research and indirect effect on classroom action research via creative problem solving. The sample consisted of 353 students teachers in Chulalongkorn University. The research data were collected using questionnaire and analyzed by descriptive statistics and LISREL model analysis.

The research findings were as follow 1) The causal and effect reflective practices and supervision ability on classroom action research of student teachers with creative problem solving as a mediator fitted to the empirical data with Chi-square = 30.930, df = 30, p = 0.085, GFI = 0.979, AGFI = 0.954, RMR = 0.015, RMSEA = 0.033 2) A causal and effect model of the teacher education program on reflective practices and supervision ability on classroom action research of student teachers with creative problem solving as a mediator was a model with partial mediators, classroom action research directly influenced reflective practices and supervision ability. Classroom action research had a significant indirect effect via creative problem solving. All effects were significant at p<.05.

Downloads

How to Cite

ตีรบุลกุล ป., & ว่องวาณิช ศ. (2015). อิทธิพลของการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิดและความสามารถด้านการนิเทศที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตนักศึกษาครูโดยมีการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน. An Online Journal of Education, 10(4), 139–153. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35616