ผลการใช้การบันทึกเชิงสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในชั้นเรียนวิจัยการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบผสมวิธี

Authors

  • กฤษณา ขำปากพลี สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศ. ดร. สุวิมล ว่องวาณิช อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความตระหนักรู้ในตนเอง, ทักษะการเรียนวิจัย, การพัฒนาตนเอง, SELF-AWARENESS, RESEARCH LEARNING SKILLS, SELF-IMPROVEMENT

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อพัฒนาวิธีการเก็บข้อมูลผู้เรียนด้วยการบันทึกเชิงสะท้อนคิดในวิชาวิจัยการศึกษาสำหรับให้ผู้สอนและผู้เรียนใช้ในการพัฒนาตนเอง 2) เพื่อวิเคราะห์ผลการใช้วิธีการบันทึกเชิงสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในชั้นเรียนวิจัยการศึกษา ตัวอย่างวิจัย ได้แก่ นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปีการศึกษา 2557 รายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  จำนวน 96 คน แบบการวิจัยเป็นการศึกษาสามกลุ่มวัด 5 ครั้งแบบอนุกรมเวลา เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับการเรียนของนิสิตครู แบบสังเกตการเรียนการสอนในชั้นเรียน และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบันทึกเชิงสะท้อนคิดขึ้นอยู่กับบริบทของผู้ใช้ ได้แก่ การใช้ภาษาที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง การเปิดเผยตัวตนของผู้บันทึก ความยากง่ายของวิชาเรียน เทคโนโลยีสังคมออนไลน์ การใช้บันทึกเชิงสะท้อนคิดควรมีประเด็นในการสะท้อนคิดเพื่อเป็นแนวทางการเขียนบันทึก ผู้สอนควรชี้แจงทำความเข้าใจให้ผู้เรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าการใช้บันทึกเชิงสะท้อนคิดเพื่อให้ผู้เรียนสะท้อนคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการสอน 2) ผู้เรียนที่ใช้บันทึกเชิงสะท้อนคิดมีทักษะการเรียนวิจัยสูงกว่ากลุ่มผู้เรียนที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนที่ใช้บันทึกเชิงสะท้อนคิดมีทักษะการเรียนวิจัยและความตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง

This research has the two main purposes which there are 1) to develop data collection methods of the students by using a record of reflective journal in education for teachers and students to use in their own development and 2) to analyze the results of how to record the reflection on the behavior of teachers and students in the classroom. In a sample, there were included undergraduate  in the faculty of education of  Chulalongkorn University. Research tools are included questionnaires about the learning of student teacher, observation of teaching in the classroom and interviews. Then, the data were analyzed by using content analysis and variance with Repeated Measures ANCOVA results were found. 1) Factors affecting the recording reflective journal based on user. There were included the mismatch of using language with reality, the disclosure of the identity of those recorders, the difficulty of the course and social technology. The use of reflective journal it should have a point of reflection to guide writing notes. 2) Students, who used a record reflective journal, have skills higher than students who apply other record methods with statistical significance level of.05. Students, who used a record reflective journal, have skills researching study and self-realization higher than before the experiment.

Downloads

How to Cite

ขำปากพลี ก., & ว่องวาณิช ศ. ด. ส. (2015). ผลการใช้การบันทึกเชิงสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในชั้นเรียนวิจัยการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบผสมวิธี. An Online Journal of Education, 10(4), 154–167. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35617