ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต

Authors

  • ภัทรจิตรา แสงสุข สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อ. ดร.ถมรัตน์ ศิริภาพ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์, พฤติกรรมนวัตกรรม, นิสิตนักศึกษา, CREATIVE SELF-EFFICACY, INNOVATIVE BEHAVIOR, STUDENTS

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์ การมองโลกเชิงบวกทางวิชาการ พฤติกรรมนวัตกรรมของนิสิตนักศึกษา และบรรยากาศในชั้นเรียนเชิงสร้างสรรค์ 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์ ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีสุดท้ายของการเรียน (ปีที่ 4 ปีที 5 และปีที่ 6 ในกรณีหลักสูตร 5 -6 ปี) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 818 คน การคัดเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบสองขั้นประกอบการแบ่งชั้น (two-stage stratified random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล

ผลการวิจัยพบว่า (1) นิสิตนักศึกษามีความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์ การมองโลกเชิงบวกทางวิชาการ พฤติกรรมนวัตกรรมของนิสิตนักศึกษา และบรรยากาศในชั้นเรียนเชิงสร้างสรรค์ในระดับปานกลางค่อนข้างมาก (Mean = 3.688, 3.734, 3.302 และ 3.575 ตามลำดับ) (2) โมเดลเชิงเหตุและผลของความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (c2 =54.769, df = 45, p = 0.149, GFI = 0.992, AGFI = 0.975, RMR = 0.007, RMSEA = 0.016)

The purpose of this research were as follows: (1) To analyze the level of creative self-efficacy, academic optimism, innovative behavior and classroom creative climate.; (2) To develop and validate the cause and effect relationship model of creative self-efficacy in undergraduate students. Research samples consisted of 818 senior undergraduate students of Chulalongkorn University. Two-stage stratified random sampling was used as the sampling technique. Survey questionnaires were used for data collection. The data were analyzed using descriptive statistics and LISREL model analysis. The research findings show that (1) undergraduate students had high level of creative self-efficacy, academic optimism, classroom creative climate and they had medium-high level of innovative behavior
(Mean = 3.688, 3.734, 3.575 and 3.302) (2) The cause and effect relationship model of creative self-efficacy in undergraduate students accords with the empirical data considering Chi-square (c2)= 54.769, df = 45, p = 0.149, GFI = 0.992, AGFI = 0.975, RMR =0.007, and RMSEA = 0.016.

Downloads

How to Cite

แสงสุข ภ., & ศิริภาพ อ. ด. (2015). ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต. An Online Journal of Education, 10(4), 182–195. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35619