การพัฒนาแบบวัดนิสัยการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามตัวแปรเพศ

Authors

  • ปิลันทนา จันทรัตน์ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อ.ดร.ถมรัตน์ ศิริภาพ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

นิสัยการอ่าน, ความไม่แปรเปลี่ยนของการวัด, READING HABITS, MEASUREMENT INVARIANCE

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดที่ใช้วัดนิสัยการอ่าน 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดนิสัยการอ่าน และ 3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามตัวแปรเพศของแบบวัดที่ใช้วัดนิสัยการอ่าน ตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดคระกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร จำนวน 626 คน เป็นชาย 227 คนและหญิง 399 คน ที่ได้จากการเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามวัดนิสัยการอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (โดยใช้โปรแกรม LISREL) และการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัด (โดยใช้โปรแกรม Mplus) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

(1) แบบวัดนิสัยการอ่านครอบคลุม 4 องค์ประกอบ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 20 ข้อ (2) แบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 - 1.00 มีความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.903 โดยมีค่าความเที่ยงขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง  0.596 ถึง 0.847 (3) โมเดลการวัดนิสัยการอ่านมีความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างเพศในด้านรูปแบบองค์ประกอบ น้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้ จุดตัดแกน และความคลาดเคลื่อน

The objectives of this study were to 1) to develop a reading habits scale, (2) to examine a quality of a reading habits scale, and (3) to test measurement invariance of a reading habits scale according to genders of students. The samples consisted of 626 secondary school students under The Basic Education Commission of Bangkok, which were 277 male students and 399 female students taken from simple random sampling. The research instrument was a reading habits scale. The data were analyzed using descriptive statistics, internal consistency reliability analysis by Cronbach’s alpha coefficient, confirmatory factor analysis through LISREL program and the invariance of measurement model through Mplus program.

The results were as follows: (1) A reading habits scale holds four components consisting 20 question items. (2) A reading habits scale contains content validity by which IOC was 0.60 - 1.00, construct validity proven by the confirmatory factor analysis, and overall reliability of 0.903. The reliability of 4 sub-tests ranged from 0.596 to 0.847. (3) The measurement model of a reading habits scale indicated invariance of model form, loading, intercept and error between male and female.   

Downloads

How to Cite

จันทรัตน์ ป., & ศิริภาพ อ. (2015). การพัฒนาแบบวัดนิสัยการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามตัวแปรเพศ. An Online Journal of Education, 10(4), 196–208. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35620