การพัฒนาโมเดลการวัดทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในศตวรรษที่ 21
Keywords:
ทักษะชีวิตและอาชีพ, แบบสอบถามเชิงสถานการณ์, LIFE AND CAREER SKILLS, SCENARIO QUESTIONNAIREAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพโดยทั่วไปของทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย 3) สร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลาย ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 397 คน ที่ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ แบบวัดทักษะชีวิตและอาชีพ เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ โดยมี 3 ตัวเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one –way ANOVA) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และหาคะแนนปกติ ที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
(1) นักเรียนเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศชายในทักษะการสร้างสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล และการบริหารจัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ทักษะกาสื่อสารและการแก้ปัญหาไม่แตกต่างกัน
(2) โมเดลการวัดทักษะชีวิตและอาชีพมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า ไค-สแควร์=3.01; df=2; p-value=0.22, GFI=0.99, AGFI=0.99, RMR=0.001, RMSEA=0.04
(3) เกณฑ์ปกติของทักษะชีวิตและอาชีพในระดับท้องถิ่น(local norms) เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 มีคะแนนปกติทีสูงกว่าเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต2 นักเรียนเพศหญิงมีคะแนนปกติ ที สูงกว่านักเรียนเพศชาย
The research objective were: 1) study the general state of life and careers skills of upper secondary school students 2) development and validation of measurement model to life and careers skills of upper secondary school students 3) provide criteria for local norm of life and career skills of upper secondary school students. The samples consisted of 397 upper secondary school students (M.5) in Bangkok in academic years 2014. The collected data were analyze by descriptive statistics, confirmatory factor analysis through LISREL and normalize T–score. The research results were as follow:
1) Female students are on average than men in get along with interpersonal skills and management was statistically significant at the 0.05 but communication and problem solving skills aren’t different. 2) There were a construct validity proof by the confirm factor analysis (c2=3.01; df=2; p-value=0.22, GFI=0.99, AGFI=0.99, RMR=0.001, RMSEA=0.04) 3) The norms of the life and career skills at the local norms in Secondary Educational Area Zone 1 is higher than normalize T–score Area Zone 2. Female students normalize T–score higher than male students.