การพัฒนาเครื่องมือประเมินแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยใช้แองเคอร์ริง วินเยตต์
Keywords:
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, แองเคอร์ริง วินเยตต์, สถิติแบบไม่อิงพารามิเตอร์, Achievement motivation, Anchoring Vignette, Non-parametricAbstract
แองเคอร์ริง วินเยตต์ช่วยแก้ปัญหาการตีความระดับสเกลในแบบประเมินตนเองของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันให้สามารถเปรียบเทียบบนมาตรสเกลเดียวกันได้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยใช้แองเคอร์ริง วินเยตต์ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่าโดยใช้แองเคอร์ริง วินเยตต์และมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 41 คน โดยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความเป็นลำดับของวินเยตต์ด้วยสถิติไม่อิงพารามิเตอร์ด้วยแพคเกจ anchor() โดยโปรแกรม R เวอร์ชั่น 3.1.3 ด้านความเที่ยงและด้านความตรงเชิงเนื้อหา โดย SPSS version 20 และด้านความตรงเชิงโครงสร้างด้วยโปรแกรมลิสเรล เวอร์ชั่น 9.1.5
ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้วยมาตรประมาณค่าโดยใช้
แองเคอร์ริง วินเยตต์ จำนวน 12 ข้อ ด้วยสถิติไม่อิงพารามิเตอร์ด้วยแพคเกจ anchor() โปรแกรม R พบว่า ข้อคำถาม
ทุกข้อในแต่ละตัวบ่งชี้มีความเป็นลำดับของวินเยตต์ โดยไม่พบความผกผันระหว่างลำดับของข้อคำถามในแต่ละชุดข้อคำถาม (2) แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้วยมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง
แต่ละตัวบ่งชี้อยู่ระหว่าง .723 ถึง .829 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .913 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูง ค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .33-1.00 และด้านความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) พบว่า โมเดลแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square=0.210, df=2,
p= 0.901, GFI=0.998, GFI=0.989, RMR=0.004,RMSEA=0.000)
Anchoring vignettes is a technique for reducing the difference in item interpretation of each person in self-assessment’s scale. The purpose of this paper was to report the development of an instrument for assessing students’ achievement motivation using anchoring vignettes. Research sample were 41 students in Grade 12 from schools in Bangkok. Data were collected using a questionnaire survey and analyzed by means of (1) nonparametric statistics using the anchor() package in R version 3.1.3, (2) content validity and reliability analyses using SPSS version 20, and construct validity analyses using LISREL version 9.1 student
The findings were as follow; (1) the examination of the 12-item achievement motivation questionnaire using nonparametric anchoring vignette by the anchor () package in R showed that there was no reversal sequence of any item in each scale. (2) The examination of the 5-rating scale achievement motivation questionnaire, consisted of 24 items, reported that the reliability of the scales was ranged from 0.723 - 0.829 and the reliability of the whole questionnaire was .913, showing that the developed instrument has high level of internal consistency. The content validity was checked by IOC of each item ranged from .330-1.000. Construct validity analyzed by confirmatory factor analysis revealed that the model of achievement motivation was fitted to the empirical data (Chi-square=0.210, df=2, p= 0.901, GFI=0.998, AGFI=0.989, RMR=0.004, RMSEA=0.000).