โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูโดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน

Authors

  • วราลี ฉิมทองดี นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.วรรณี แกมเกตุ อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครู, การคิดสร้างสรรค์, TEACHER’S INNOVATIVE ABILITY, CREATIVE THINKING

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครู ตามระดับชั้นที่สอนและขนาดของโรงเรียนที่แตกต่างกัน 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูโดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมครูที่มีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่านที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 564 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครู วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดล ลิสเรล

ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูที่สอนต่างระดับชั้นและสังกัดในโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลการวิเคราะห์ความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูโดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน พบว่า  โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 18.055 องศาอิสระเท่ากับ 17  ความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.385 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ  มีค่าเท่ากับ 0.007 3) โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูโดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน ประกอบด้วย ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูได้รับอิทธิพลทางตรงจากความรู้ในการสร้างนวัตกรรม บุคลิกภาพ แรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสนับสนุนจากองค์กรและการคิดสร้างสรรค์  ส่วนการคิดสร้างสรรค์ได้รับอิทธิพลทางตรงจากความรู้ในการสร้างนวัตกรรม บุคลิกภาพ  แรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม และการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่านที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

The purposes of this research were as follows 1) to compare teacher’s innovative ability in different teaching level and school size. 2) to develop a causal model of teacher’s innovative ability with creative thinking as mediator, and 3) to analyze mediating role of creative thinking  in the model of teacher’s innovative ability. Research samples consisted of 564 teachers in school under the office of basic education commission that teach in primary and secondary level. Survey questionnaires were used for data collection.  The data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s correlation and a LISREL model analysis.

The research findings were as follows: 1) The teacher’s innovative ability in different teaching level and school size were non-significant statistical differences at .05 level. 2) The causal model of teacher’s innovative ability with creative thinking as mediator fit with the empirical data (c2=18.055, df=17, p=0.385, RMSEA=0.007). 3) A causal model of teacher’s innovative ability with creative thinking as mediator, I.e. teacher’s innovative ability, had been directly affected by knowledge of innovative ability, motivation, personality, knowledge sharing, organization support, and creative thinking. Creative thinking had been directly affected by knowledge of innovative ability, motivation, personality, and teacher’s innovative ability had been significant as a mediated variable by creative thinking.

Downloads

How to Cite

ฉิมทองดี ว., & แกมเกตุ ร. (2015). โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูโดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน. An Online Journal of Education, 10(4), 324–332. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35628