โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการสอนแบบสะท้อนคิดของครูเป็นตัวแปรปรับ: การวิจัยเชิงทดลอง

Authors

  • เอกชัย วิเศษศรี นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.วรรณี แกมเกตุ อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

โมเดลเชิงสาเหตุ, การสอนแบบสะท้อนคิด, ตัวแปรปรับ, CAUSAL MODEL, REFLECTIVE TEACHING, MODERATOR

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้รูปแบบการสอนที่ต่างกัน 2 รูปแบบ คือการสอนที่ครูใช้การสะท้อนคิดและการสอนแบบปกติ  (2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการสอนแบบสะท้อนคิดของครูเป็นตัวแปรปรับกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3) เพื่อศึกษารูปแบบการสะท้อนคิดของนักเรียนที่มีทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 82 คน  กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มแบบเจาะจงเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 41 คน และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 41 คน  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) รูปแบบการสอนของครูส่งผลต่อค่าเฉลี่ยของกระบวนการสะท้อนคิดของนักเรียนและค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีการสอนแบบสะท้อนคิดของครูเป็นตัวแปรปรับ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์ =31.32,  df = 28, p = .30, GFI = 0.91, RMSEA = 0.05) (3) นักเรียนที่มีการสะท้อนคิดสูงมีรูปแบบการสะท้อนคิดที่สอดคล้องกัน 4 ข้อ คือ 1) ตั้งใจฟังในขณะที่ครูบรรยาย  2) จดบันทึกความรู้ที่ได้รับหลังเรียนในแค่ละวัน 3) สืบหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ 4) ทบทวนความรู้อย่างสม่ำเสมอ

The purposes of this research were: (1) to compare the skills of reflective thinking and science achievement of students in 6th grade by using 2 different teaching styles which are reflective teaching and regular teaching (2) to verify the accuracy of the causal model of reflective thinking skills and science achievement of students with teacher’s reflective teaching as a moderator and the empirical data, and (3) to study the pattern of reflective thinking of the students who have the skills to reflect the ideas and the great achievement. A sample of the research is the students in grade 6th, 82 students. There are 2 groups of purposive samples; control group with 41 students and experimental group with 41 students.

The research results are summarized as follows : (1) The style of teaching affects the average of the process of reflective thinking of students and the average of achievement which is significantly different at .01 (2) The Causal model of reflective thinking skills and science achievement with teacher’s reflective teaching as a moderator is correspond to the empirical data (the Chi-square = 31.32,df = 28, p = .30, GFI = 0.91, RMSEA = 0.05) (3) The students who have reflective skill may have the pattern of reflection coherently in 4 ways 1) Pay attention while lecturing 2) Noted what they have learned everyday 3) Inquire more information from various sources 4) Review their study regularly

Downloads

How to Cite

วิเศษศรี เ., & แกมเกตุ ร. (2015). โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการสอนแบบสะท้อนคิดของครูเป็นตัวแปรปรับ: การวิจัยเชิงทดลอง. An Online Journal of Education, 10(4), 333–344. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35629