การพัฒนารูปแบบการจัดทำแฟ้มสะสมงานสำหรับประเมินการปฏิบัติงานครูของโรงเรียน ในเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทย
Keywords:
รูปแบบการจัดทำแฟ้มสะสมงานครู, การประเมินการปฏิบัติงานครู, TEACHER PORTFOLIO MODEL, TEACHER PERFORMANCE ASSESSMENTAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสังเคราะห์มาตรฐานการปฏิบัติงานครูในการจัดทำแฟ้มสะสมงานสำหรับการประเมินการปฏิบัติงานครูของโรงเรียนในเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดทำแฟ้มสะสมงานสำหรับประเมินการปฏิบัติงานครูของโรงเรียนในเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทยตามมาตรฐานการปฏิบัติงานครูที่ศึกษา 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดทำแฟ้มสะสมงานสำหรับประเมินการปฏิบัติงานครูของโรงเรียนในเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรเป็นเจ้าของในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์แนวทาง ความคิดเห็นในการประเมินการปฏิบัติงานครู และมาตรฐานในการประเมินการปฏิบัติงานครูที่สังเคราะห์ได้ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคู่มือการจัดทำแฟ้มสะสมงานครูสำหรับประเมินการปฏิบัติงานของโรงเรียนในเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหาจากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ความถี่และร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) มาตรฐานการปฏิบัติงานครูในการจัดทำแฟ้มสะสมงานสำหรับการประเมินการปฏิบัติงานครูของโรงเรียนในเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทยมี 3 องค์ประกอบ คือ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาการเรียนการสอน 2) รูปแบบการจัดทำแฟ้มสะสมงานสำหรับประเมินการปฏิบัติงานครูของโรงเรียนในเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทยตามมาตรฐานการปฏิบัติงานครูที่ศึกษามีองค์ประกอบของโครงสร้าง ขั้นตอนการพัฒนา และเกณฑ์การประเมินแฟ้มสะสมงานครู 3) ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดทำแฟ้มสะสมงานสำหรับประเมินการปฏิบัติงานครูของโรงเรียนในเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทยโดยภาพรวม มีคุณภาพในระดับมากที่สุด
The purposes of this study were 1) to synthesize performance standards for teachers to prepare portfolios for teacher performance assessment in schools of St. Paul de Chartres in Thailand, 2) to develop a portfolio model for teacher performance assessment of teachers in schools of St. Paul de Chartres in Thailand, and 3) to determine the quality of the portfolio model for teacher performance assessment of St. Paul de Chartres in Thailand. The sample involved 100 teachers of St. Paul de Chartres in Thailand. Interview form was used to collect the data about teacher performance assessment and performance standards, whereas questionnaire was employed to collect the data about quality of the portfolio model. Samples were analyzed by content analysis,frequency and percentage of general information of the sample,for the mean and standard deviation. Result were as follows: (1) performance standards for teachers to prepare portfolios for teacher performance assessment in schools of St. Paul de Chartres in Thailand comprised of three components, i.e self-development; learners development; and teaching and learning development; (2) portfolio model for teacher performance assessment in schools of St. Paul de Chartres in Thailand comprised of structure, process, and assessment criteria; (3) the quality of the portfolio model for teacher performance assessment of teachers in schools of St. Paul de Chartres of Thailand was in the highest level.