การเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกกับแบบสอบถูกผิด หลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนที่ต่างกัน
Keywords:
คุณสมบัติทางจิตมิติ, แบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก, แบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่, วิธีการตรวจให้คะแนน, PSYCHOMETRIC PROPERTIES, MULTIPLE TRUE-FALSE TEST, MODIFIED MULTIPLE TRUE-FALSE TEST, SCORING PROCEDUREAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกกับ แบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 กับวิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1,150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่มี 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือก วิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติของข้อสอบและแบบสอบตามทฤษฏีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) โมเดลโลจิสติก 3 พารามิเตอร์และโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนมากกว่า 2 ค่า โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ ได้แก่ ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าโอกาสในการเดา ของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกกับแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบที่ระดับความสามารถปานกลาง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 กับวิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบที่ระดับความสามารถต่ำจนถึงระดับความสามารถสูง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 กับวิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบที่ระดับความสามารถต่ำและระดับความสามารถปานกลาง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were to compare the psychometric properties between multiple true-false test and modified multiple true-false test with different scoring procedures. Participants comprised of 1,150 students in grade-8. Data was collected through multiple true-false tests with four and five options. Data was analyzed using descriptive statistics, the three parameter logistic model and polytomous item response model, all of which employ computer programs.
The research findings were as follows: 1) The psychometric properties of multiple true-false and modified multiple true-false tests with 0-1 scoring procedure were significantly different at .05 level and item information at the mediocre ability were significantly different at .05 level.
2) The discriminations of multiple true-false tests with 0-1 and MTF scoring procedures were not significantly different and item information at the low ability level to the high ability level were significantly different at .05 level.
3) The discriminations of modified multiple true-false tests with 0-1 and MTF scoring procedures were significantly different at .05 level and item information at the low ability level and the mediocre ability level were significantly different at .05 level.