ผลของการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ชมภูนุช จันทร์แสง สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10330
  • ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี อาจารย์ประจำสาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10330

Keywords:

การประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบวงเดียว, การประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบสองวง, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, SINGLE-LOOP SELF-REFLECTIVE THINKING, DOUBLE -LOOP SELF-REFLECTIVE THINKING, CRITICAL THINKING

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ กับกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบวงเดียว (Single-loop self-reflective thinking) และกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบสองวง (Double-loop self-reflective thinking)  ตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นข้อสอบปรนัย 32 ข้อ และข้อสอบอัตนัย 6 ข้อ ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป         ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มควบคุม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ซึ่งใช้การสอนประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบวงเดียว (Single-loop self-reflective thinking) และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ซึ่งใช้การสอนประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบสองวง (Double-loop self-reflective thinking) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 มีความสามารในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

The purposes of this experimental research were to compare the critical thinking abilities between pretest-posttest between control group and the experimental group design (experimental group1 : Single-loop self-reflective thinking and experimental group2 : Double-loop self-reflective thinking) The sample group were 113 students were eleventh graders in SESA 1 (Secondary Educational Service Area on second semester in academic year 2014. The instruments used for research were critical thinking ability examination made up of 32 multiple choice and 6 open-ended questions. The reliability of test was 0.85, all of which employ Computer Program

The research findings were as follows: The critical thinking ability between pretest-posttest scores of the control group were not significantly different. The pretest-posttest scores between experimental group1 : Single-loop self-reflective thinking and experimental group2 : Double-loop self-reflective thinking were significantly different at level .05. The mean experimental group2 : Double-loop self-reflective thinking for the comparison group was higher than the experimental group1 : Single-loop self-reflective thinking and were significantly different at level .01.

Downloads

How to Cite

จันทร์แสง ช., & กาญจนวาสี ศ. ด. (2015). ผลของการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. An Online Journal of Education, 10(4), 455–469. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35689