การพัฒนาแบบวัดการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • ปรางทิพย์ นวลใหม่ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัว, ACADEMIC FAMILY SUPPORT

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตัวอย่างจำนวน 800 คน จำแนกเป็นผู้ปกครองจำนวน 400 คนและนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้

          1. แบบวัดการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การแนะนำ ชื่นชมและจัดหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนให้แก่บุตร 2) การทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับบุตรและการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ปกครอง 3) การสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนให้บุตรปฏิบัติกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 4) การพูดคุยเรื่องการเรียนและให้กำลังใจบุตร 5) การติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของบุตร 6) การจัดกิจกรรมส่งเสริม การเรียนรู้ที่บ้านและสนับสนุนให้บุตรศึกษาแหล่งการเรียนรู้นอกบ้าน 7) การเรียนพิเศษเพิ่มเติม และ 8) การสนับสนุนค่าใช้จ่าย อุปกรณ์การเรียนและเลือกสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการเรียนของบุตร

          2. ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบวัดพบว่ามีความตรงตามเนื้อหา(ค่าดัชนี IOC ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00) มีค่าความเที่ยงปานกลาง(α =0.621-0.799) และมีความตรงเชิงโครงสร้าง(=18.916, df =12, P=0.091, GFI = 0.994, AGFI = 0.981, RMSEA = 0.939)

The objectives of this descriptive research were 1) to develop the academic family support scale for seventh grade students. 2) to investigate the quality of academic family support scale for seventh grade students. The population of this research was guardian and students of secondary school students from the Basic Education Commission. The sample was 800 guardian and students by 400 guardian and 400 seventh grade students. The research instrument used in this study was the 5 level rating scaled questionnaire and analyzed using descriptive statistics, exploratory factor analysis by SPSS using, and confirmatory factor analysis by LISREL using.

1. The academic family support scale for seventh grade students consisted of 8 factors. 1) Guidance, admiration and learning service providing for children 2) The learning activities are shared between the parents and the children. The guardian is good role model 3) Motivating and learning activities supporting 4) Learned school talking and encouragement 5) Tracking learning progress of children 6) Home learning activities providing and Various learning resources studied supporting 7) extra tutorial class taking and 8)  Studied wherewithal supporting

2. The quality of academic family support scale had content validity (IOC=0.67-1.00), moderate internal consistency (α =0.621-0.799), and construct validity (=18.916, df =12, P=0.091, GFI = 0.994, AGFI = 0.981, RMSEA = 0.939)

Downloads

How to Cite

นวลใหม่ ป., & สุชีวะ ร. (2015). การพัฒนาแบบวัดการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. An Online Journal of Education, 10(4), 470–481. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35691