การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้และพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูในแต่ละมิติตามแนวคิดของ SCHAEFER

Authors

  • ปัณณ์วิชญ์ จาตุกัญญาประทีป สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อ.ดร.จรินทร วินทะไชย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การอบรมเลี้ยงดู, มิติการอบรมเลี้ยงดู, พฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดู, PARENTING, PARENTING DIMENSION, PARENTING BEHAVIOR

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ตัวบ่งชี้การอบรมเลี้ยงดูในแต่ละมิติตามแนวคิดของ Schaefer จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบกับการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้แบบสอบถามลักษณะพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครจำนวน 165 คน

ผลการสังเคราะห์ตัวบ่งชี้และพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองในแต่ละมิติ พบว่า มิติรักอบอุ่นประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) การแสดงออกถึงความรัก เช่น การแสดงออกถึงความรักทางกาย ทางวาจา (2) การสนับสนุนและตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ เช่น การรับฟังปัญหา ให้กำลังใจ และ (3) การมีส่วนร่วม หรือการทำกิจกรรมร่วมกัน มิติการควบคุมประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) การตั้งกฎและข้อบังคับ เช่น กำหนดเวลากลับบ้าน มีข้อห้ามต่างๆ และ (2) การติดตามดูแลและบังคับใช้กฎ เช่น การตักเตือน ย้ำ ทำโทษ และมิติการให้อิสระทางจิตประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) การใช้วิธีที่เป็นประชาธิปไตย เช่น การรับฟังความคิดเห็น (2) การให้อิสระในการพัฒนาอัตลักษณ์ เช่น การให้อิสระในการเลือก การคิด ตัดสินใจ และ (3) การใช้วิธีที่ไม่ชี้นำและปราศจากการบังคับขู่เข็ญ เช่น การใช้เหตุผล หรือให้ลูกได้ทำในสิ่งที่ต้องการ

The aims of this study were to synthesize the indicator of parenting dimension, based on Schaefer’s concept and to study the parenting behavior in each dimension of secondary school students’ parent. Samples of this study were 165 secondary school students. Indicators were synthesized by reviewing the related literatures and empirical data.

            The result showed that there are 3 indicators that have been used and measured. The first dimension is Warmth dimension which consists of (1) expression of love, such as physical and verbal expression, (2) emotional support, such as willing to listening to their kid’s problem and encouraging them, (3) involvement, such as doing things or going out together. The second dimension is Control dimension which consists of  (1) rules and limit setting, such as setting routine time and other rules, (2) monitoring and enforcing the rules, such as punishing and giving advice. The last dimension is psychological autonomy which consists of (1) democracy discipline, such as giving attention to their opinions, (2) giving them freedom to develop their identity, such as giving them freedom to choose and to think, and (3) using of noncoercive method.

Downloads

How to Cite

จาตุกัญญาประทีป ป., & วินทะไชย์ อ. (2015). การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้และพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูในแต่ละมิติตามแนวคิดของ SCHAEFER. An Online Journal of Education, 10(4), 495–509. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35694