การประเมินความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความใฝ่รู้ ของนิสิตปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

Authors

  • ธีระศาสตร์ อายุเจริญ สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การประเมินความต้องการจำเป็น, ความใฝ่รู้, เทคโนโลยีการศึกษา, NEEDS ASSESSMENT, INQUIRING MIND, EDUCATIONAL TECHNOLOGY

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพจริงและความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความใฝ่รู้ของนิสิตปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (2) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความใฝ่รู้ของนิสิตปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ คณาจารย์คณะครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ ที่มีการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย 5 สถาบัน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Priority Needs Index แบบปรับปรุง (PNIModified)

ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านความกระตือรือร้น ควรเปิดโอกาสให้นิสิต/นักศึกษา ได้สอบถาม หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชาก่อนการเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียน (PNIModified = 1.75) (2) ด้านความตระหนักรู้ ควรจัดให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษาสอบถามอาจารย์ผู้สอนทันทีเมื่อมีข้อสงสัยหรือมีข้อคำถาม (PNIModified = 0.90) (3) ด้านการแสวงหาความรู้ เมื่อนิสิต/นักศึกษามีข้อสงสัยอยากให้นิสิต/นักศึกษา สอบถามอาจารย์ เพื่อน หรือผู้รู้ ผ่านทาง Social Media ต่างๆ เช่น Facebook, Line (PNIModified = 0.84) (4) ด้านการรวบรวมข้อมูล ควรจัดให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นิสิต/ นักศึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากการเรียนเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับสิ่งที่เรียนไปแล้ว (PNIModified = 0.75) และ (5) ด้านการสรุปข้อมูล ควรจัดให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษา ช่วยกันสรุปความรู้กับเพื่อนหลังจากเรียนจบในแต่ละบทเรียน (PNIModified = 1.08)

The objectives of this research were (1) to study the needs of an instruction learning to enhance the inquiring minds of undergraduate student in educational technology, (2) to prioritize needs of an instruction learning to enhance the inquiring minds of undergraduate student in educational. The sample was Instructor in educational technology field of study from 5 Autonomous University using technique Stratified Random Sampling. Research tool was questionnaire. Data were analyze using mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNIModified)

            The research results were as follows: (1) The consistence of "enthusiastic" - students should be welcomed to ask for the content of each lesson before studying in order to be well prepared and ready for the class. (PNIModified = 1.75) (2) The eagerness of understanding – students should be provided activities that they could ask teachers right away when they have any doubt or question. (PNIModified = 0.90) (3) The eagerness to seek for knowledge – When students have any doubt, they are encouraged to consult with teacher, classmate, or specialist via the social medi (PNIModified = 0.84) (4) The consistence of "collection the data" -  Students should be provided activities that they can explore additional information after the class in order to compare the gathered information with the lesson learned. (PNIModified = 0.75) (5) The eagerness to summarize the information – Students should be provided activities that they help each other to conclude the lesson learned after the class. (PNIModified = 1.08)

Downloads

How to Cite

อายุเจริญ ธ., & สงคราม ร. (2015). การประเมินความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความใฝ่รู้ ของนิสิตปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. An Online Journal of Education, 10(4), 524–535. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35698