ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสะท้อนคิดของผู้เรียนและการให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้สอน ในการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อการสร้างสรรค์งานคอมพิวเตอร์กราฟิกของนักเรียน
Keywords:
แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์, การสะท้อนคิด, การให้ข้อมูลย้อนกลับ, การสร้างสรรค์งานคอมพิวเตอร์กราฟิก, ELECTRONIC PORTFOLIO, REFLECTION, FEEDBACK, COMPUTER GRAPHIC CREATIONAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสะท้อนคิดของผู้เรียนและการให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้สอนในการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อการสร้างสรรค์งานคอมพิวเตอร์กราฟิกของนักเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวนทั้งสิ้น 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบจัดการแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์บน Google Sites คำถามนำสำหรับการสะท้อนคิด รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบทั่วไป และรูปแบบชี้แนะเพื่อการปรับปรุง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) เพื่อหาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสะท้อนคิดและการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อการสร้างสรรค์งานคอมพิวเตอร์กราฟิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test independent เพื่อหาความแตกต่างของการสร้างสรรค์งานของกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการสะท้อนคิดและรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับต่างกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนของการสร้างสรรค์งานคอมพิวเตอร์กราฟิกของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม
ผลการทดลองพบว่าการสะท้อนคิดของผู้เรียนและการให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้สอนในการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันส่งผลต่อการสร้างสรรค์งานคอมพิวเตอร์กราฟิกของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purpose of this research was an interaction between learner reflection and teacher feedback in electronic portfolio development on student’s computer graphic creation. We use Sample Random Sampling for 125 students in Mathayom 3, enroll in semester 2/2014 for experimental group. The research tool is electronic portfolio system on Google site. The leading question was reflection . We use two feedback style, General style and feedforward style, for analysis One-way ANOVA compare with pre-school record of sample student. We analyze data by Descriptive statistic for describe general data and Two-way ANOVA for interaction between learner reflection and teacher feedback to student’s computer graphic creation. Finally we use t-test independent for differentiate creation group of the different level of reflection sample and different type feedback forms. Finally we analyzed the data for compared the creative score of computer graphic tasks for every groups.
The results indicated that learner reflection and teacher feedback in electronic portfolio development correlations. This statistically significant is 0.05