การนำเสนอแนวทางสำหรับครูในการจัดการเล่นนอกห้องเรียนสำหรับเด็กวัยอนุบาล
Keywords:
การประเมินความต้องการจำเป็น, การเล่นนอกห้องเรียน, ครูอนุบาล, NEEDS ASSESSMENT, OUTDOOR PLAY, PRESCHOOL TEACHERSAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของครูในการจัดการเล่นนอกห้องเรียนสำหรับเด็กวัยอนุบาล 2) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นของครูในการจัดการเล่นนอกห้องเรียนสำหรับเด็กวัยอนุบาล 3) เพื่อกำหนดแนวทางในการสนับสนุนครูในการจัดการเล่นนอกห้องเรียนสำหรับเด็กวัยอนุบาล ตัวอย่างประชากร คือ ครูอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 397คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติทั้งสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทุกด้าน คือ ด้านการวางแผน ได้แก่ การจัดสรรเวลา การจัดพื้นที่ และการจัดสื่อ อุปกรณ์ ด้านการจัดการเล่น ได้แก่ การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และจิตใจ และการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ด้านบทบาทครู ได้แก่ การมีส่วนร่วม การเป็นผู้สนับสนุน และการให้ความช่วยเหลือ 2) ด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ การวางแผน รองลงมาคือ การจัดการเล่น และบทบาทครู ตามลำดับ โดยความต้องการจำเป็นมากที่สุดด้านการวางแผน คือ การจัดพื้นที่ ด้านการจัดการเล่น คือ การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา และด้านบทบาทครู คือ การมีส่วนร่วมและการเป็นผู้สนับสนุน 3) แนวทางการส่งเสริมครูในการจัดการเล่นนอกห้องเรียนสำหรับเด็กวัยอนุบาล ในด้านการวางแผน คือ การสร้างแรงจูงใจให้ครูเห็นความสำคัญของพื้นที่นอกห้องเรียน ด้านการจัดการเล่น คือ การให้ความรู้ครูเกี่ยวกับการบูรณาการพัฒนาการ 4 ด้าน และด้านบทบาทครู คือ การสร้างความตระหนักให้แก่ครูเกี่ยวกับบทบาทในการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนการเล่นนอกห้องเรียนของเด็กให้แก่ครู
The objectives of this research were 1) to study the need of having teachers organizing outdoor play for preschoolers 2) to prioritized essential aspects involve in organizing outdoor play for preschoolers by teachers 3) to propose an approach in supporting teachers in organizing outdoor play for preschoolers. The sample was 397 preschool teachers in school under the office of the basic education. Research instruments were questionnaire and Focus Group. The results were as follows; 1) The mean scores of performance for teachers organizing outdoor play for preschoolers competency in reality were significantly different from the mean scores of it should be at .01 in all aspects as follows; planning included time, space and material management. Activities organizing included foster physical, socio-emotional and cognitive improvement. Teachers’ role included teachers’ role as participant, supporter and helper. 2) the most critical needs was planning, child development and teacher’s role. In planning was outdoor space management. In child developer was foster cognitive improvement. In teachers’ role were teachers’ role as participant and supporter. 3) The most important approach to develop teacher for planning is motivating teachers to recognize the value of outdoor space. For child developer is training teachers about integration activities. For teachers’ role were create awareness about teachers’ role as participant and supporter.