ผลการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงออกแบบ

Authors

  • วาทินี บรรจง
  • ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาลกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง 2) ศึกษาผลการจัดประสบการณ์ศิลปะที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาลหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้แผนการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงออกแบบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้แผนการจัดประสบการณ์ศิลปะแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ
เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนอินทโมลีประทาน อำเภอเมือง
จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คนและกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน ระยะเวลาที่ใช้การวิจัย 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ TCT-DP วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที 

   ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์สูงกว่า

   The purposes of this research were to 1) study the effects of organizing art experiences by integrating design thinking approach on kindergarteners’ creativity before and after the experiment of the experimental group 2) study the effects of organizing art experiences on kindergarteners’ creativity after the experiment between experimental group used art experiences by integrating design thinking approach and control group used art experiences based on Early Childhood Education curriculum. The sample were 40 third level kindergarteners from Intamoleepratan School under Office of the Private Education Commission of Singburi, which were divided into two groups; 20 children for the experiment group and 20 children for the control group. The research duration was 12 weeks. The research instrument was the Test for Creative Thinking-Drawing Production Form for Kindergarteners (TCT-DP). The data was statistically analyzed by using the arithmetic means, standard deviations, and t-test.

   The research results were as follows : 1) after the experiment, the experimental group had the creativity mean scores higher than before the experiment at .01 significant level 2) after the experiment, the experimental group had the creativity mean scores higher than that of the control group at .01 significant level.

Downloads

How to Cite

บรรจง ว., & ขยันกิจ ศ. (2014). ผลการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงออกแบบ. An Online Journal of Education, 9(1), 728–741. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37269