ผลการจัดกิจกรรมโอริกามิที่มีต่อความรู้ทางเรขาคณิตของเด็กอนุบาล

Authors

  • พิมลพรรณ สูงกิจบูลย์
  • ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์

Keywords:

กิจกรรมโอริกามิ, ความรู้ทางเรขาคณิต, เด็กอนุบาล, ORIGAMI ACTIVITY, GEOMETRICAL KNOWLEDGE, KINDERGARTENER

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมโอริกามิที่มีต่อความรู้ทางเรขาคณิตของเด็กอนุบาล และเปรียบเทียบความรู้ทางเรขาคณิตของเด็กอนุบาลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 48 คน ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้ทางเรขาคณิตของเด็กอนุบาล ด้านรูปร่าง ด้านตำแหน่ง และด้านทิศทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที กิจกรรมโอริกามิ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นแนะนำหลักการพับกระดาษ ขั้นที่ 2 ขั้นการพับตามแบบ และขั้นที่ 3 ขั้นการตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้เวลาทดลอง 6 สัปดาห์

   ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ทางเรขาคณิต ด้านรูปร่าง ด้านตำแหน่ง และด้านทิศทาง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ทางเรขาคณิต ด้านรูปร่าง ด้านตำแหน่ง และด้านทิศทาง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

   The purposes of this research were to study the effects of organizing origami activities on kindergarteners’ knowledge of the geometrical knowledge and compare the geometrical knowledge of kindergarteners between an experiment group and a control group. The samples were 48 first level kindergarteners from Anuban Nakhon Pathom School under the Primary Educational Service Area Office of Nakhon Pathom Area 1; They were divided into two groups of 24 members each by simple random sampling. The research instruments were a geometrical knowledge test for kindergarteners on the geometrical shape, the position and the direction. The data was statistically analyzed by using mean, standard deviation, and t-test.  The organizing origami activity consisted of 3 steps; step 1 introduces the role of folding, step 2 follows the steps of folding, and step 3 decorates the folded paper. The research duration was 6 weeks.

   The research results were as follows: the experimental group had attention mean knowledge scores of the geometrical shape, the position and the direction higher than before experiment at a .01 significant level. After the experiment, the experimental group had attention mean knowledge scores of the geometric shapes, the position and the direction higher than the control group at a .01 significant level.

Downloads

How to Cite

สูงกิจบูลย์ พ., & ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์ ป. (2014). ผลการจัดกิจกรรมโอริกามิที่มีต่อความรู้ทางเรขาคณิตของเด็กอนุบาล. An Online Journal of Education, 9(1), 805–816. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37271