กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Authors

  • รัตนา ยังศิริ
  • ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Keywords:

กลยุทธ์, การบริหาร, การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน, STRATEGIES, MANAGEMENT, QUALITY OF WORK LIFE

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม และพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย 285 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา

   ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรอยู่ระดับปานกลาง ลำดับความต้องการจำเป็น คือ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการนำแผนไปปฏิบัติ  3) ด้านการประเมินผล จุดแข็งและโอกาส  คือ การทำงานตามแผนพัฒนาให้บุคลากรมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งเท่าเทียมกัน  และปรับปรุงห้อง/พื้นที่ทำงานให้มีสุขภาวะ และภาพลักษณ์ดีขึ้น  จุดอ่อนและอุปสรรค คือ การวางแผนพัฒนาหน่วยงานให้บุคลากรมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งเท่าเทียมกัน  กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก  ได้แก่  การสืบทอดตำแหน่ง   การสร้างความพร้อมสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น  การเสริมสร้างสุขภาวะในที่ทำงาน   และ 12 กลยุทธ์รอง ได้แก่ 1) สร้างโอกาสก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ 2) ปรับปรุงกฎ ระเบียบการบริหารงานบุคคลให้คล่องตัว 3) พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้พร้อมต่อการทำงาน  4) สร้างแผนพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน และบุคลากร  5) อบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน  6) มีการประชุมเพื่อติดตามงาน  7) สร้างความพร้อมต่องานที่มอบหมาย 8) สร้างระบบติดตามงาน  9) ส่งเสริมความปลอดภัยของสภาพแวดล้อม  10) ใช้วัสดุครุภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อการทำงาน  11) ส่งเสริมกิจกรรม 5 ส. 12) สร้างระบบการทำงานเป็นทีมเพื่อสุขภาวะที่ดี

   This research aimed at exploring current and desirable states, needs, strengths, weaknesses, opportunities, and threatening conditions as well as developing strategies for enhancing quality of life of personnel in Sukhothai Thammathirat Open University. The sample included 285 government officers and staffs. A questionnaire was used to collect data. Statistics used included frequency, percentage, mean, standard deviation, index of modified PNI, and content analysis.

   It was found that the development of quality of work life was moderate. The needs included 1) planning, 2) plan implementation, and 3) evaluation. The planning implementation for fair career mobility, and office improvement to increase work well-being and enhanced images were considered strength or opportunity. The weakness or threatening was the organizational planning for increased fairness of work mobility. The proposed 3 primary strategies included developments of position succession plan, work readiness, and well-being in workplace. The 12 sub-strategies included the creations of 1) career advancement, 2) flexible management, 3) personnel competency ready to work, 4) personnel development plan consistent to needs of organization and individual, 5) training program,  6) monitoring awareness, 7)  readiness to job designation, 8) job monitoring system, 9) high standard work security, 10) harmless materials and articles, 11) 5S activities, and 12) teamwork for well- being

Downloads

Published

2015-12-28

How to Cite

ยังศิริ ร., & สุเมตติกุล ป. (2015). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. An Online Journal of Education, 9(4), 265–278. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37336