ผลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวสรรคนิยมเชิงสังคมร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์และมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • สุทธินี เพชรทองคำ
  • วัชราภรณ์ แก้วดี

Keywords:

การเรียนการสอนตามแนวสรรคนิยมเชิงสังคม, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ความสามารถในการวิเคราะห์, มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, SOCIAL CONSTRUCTIVIST-BASED INSTRUCTION, COOPERATIVE LEARNING, ANALYZING ABILITY, SCIENCE CONCEPTS, LOWER SECONDARY

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวสรรคนิยมเชิงสังคมร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์ระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวสรรคนิยมเชิงสังคมร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป 3) ศึกษามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวสรรคนิยมเชิงสังคมร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 4) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวสรรคนิยมเชิงสังคมร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเอกชนในเขตยานนาวา จำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการวิเคราะห์ ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.78 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.32-0.79 และแบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.21-0.76 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ   สถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการวิเคราะห์เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการวิเคราะห์เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 75.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 และ 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

   The purposes of this study were to 1) compare analyzing ability of lower secondary school students before and after learning by social constructivist-based instruction with cooperative learning, 2) compare analyzing ability of lower secondary school students after learning between groups learning by using social constructivist-based instruction with cooperative learning and conventional teaching method, 3) study science concepts of students after learning by using social constructivist-based instruction with cooperative learning, and 4) compare science concepts of students after learning between groups learning by using social constructivist-based instruction with cooperative learning and conventional teaching method. The samples were two classes of Matayom Suksa one students of private school in Yannawa district. The samples were divided into two groups. The research instruments were analyzing ability test with the level of reliability at 0.78, the level of difficulty between 0.32-0.79. And science concept test with the level of reliability at 0.83, the level of difficulty between 0.21-0.76. The collected data were analyzed by arithmetic means, means of percentage, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1) After the experiment, an experimental group had an average scores of analyzing ability higher than before the experiment at .05 level of significance. 2) After the experiment, an experimental group had an average scores of analyzing ability higher than a control group at .05 level of significance. 3) Scores of science concepts, which was 75.66 percent higher than 70 percent. And 4) After the experiment, an experimental group had an average scores of science concepts higher than a control group at .05 level of significance.

Downloads

Published

2015-12-28

How to Cite

เพชรทองคำ ส., & แก้วดี ว. (2015). ผลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวสรรคนิยมเชิงสังคมร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์และมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. An Online Journal of Education, 9(4), 324–336. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37341