ผลของการใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามตามแนวคิดของออสบอร์นที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • ราวรรณ แสงอยู่
  • วัชราภรณ์ แก้วดี

Keywords:

วงจรการเรียนรู้ 5E, คำถามตามแนวคิดของออสบอร์น, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, 5E LEARNING CYCLE, QUESTIONING TECHNIQUE BASED ON OSBORN’S APPROACH, INTEGRATED SCIENCE PROCESS SKILLS / SCIENCE LEARNING ACH

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น บูรณาการก่อนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามตามแนวคิดของออสบอร์น 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามตามแนวคิดของออสบอร์นกับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามตามแนวคิดของออสบอร์นและ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามตามแนวคิดของออสบอร์นและนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสังกัดสำนักเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 และแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามตามแนวคิดของออสบอร์นมีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) นักเรียนที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามตามแนวคิดของออสบอร์มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์คิดเป็นร้อยละ 70.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 และมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

   This study was a quasi-experimental research. The purposes of this study were: 1) to compare the integrated science process skills of group learning by the 5E learning cycle with a questioning technique based on Osborn’s approach before, during, and after learning; 2) to compare the integrated science process skills between group learning by the 5E learning cycle with questioning technique based on Osborn’s approach and group learning by conventional instruction; 3) to study the science learning achievements of lower secondary school students group learning by the 5E learning cycle with questioning technique based on Osborn’s approach; and 4) to compare the science learning achievement levels between group learning by the 5E learning cycle with questioning technique based on Osborn’s approach and group learning by conventional method. The samples were two classes of Mathayom Suksa 1 students at the school of Ladkrabang district office in the Bangkok Metropolitan Area during the second semester of academic year 2013. The research instruments were the integrated science process skills test with reliability at 0.80 and the science learning achievement test with reliability at 0.92.The collected data were analyzed by arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation, and t-test. The research findings were summarized as follows: 1) The experimental group had higher mean scores of integrated science process skills than before the experiment and higher than the control group at a .05 level of significance. 2) The experimental group had mean scores of science learning achievement at 70.79 percent, which was higher than the criterion score set at 70 percent., and higher than the control group at a 0.05 level of significance.

Downloads

Published

2015-12-28

How to Cite

แสงอยู่ ร., & แก้วดี ว. (2015). ผลของการใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามตามแนวคิดของออสบอร์นที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. An Online Journal of Education, 9(4), 337–351. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37343