การศึกษาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค: กรณีศึกษาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

Authors

  • นุสรา ตั้งตรงกิจเจริญ
  • เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา

Keywords:

การดำเนินงานวิชาการ, โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค, โรงเรียนวิทยาศาสตร์, OPERATION OF ACADEMIC TASKS, REGIONAL SCIENCE SCHOOL, SCIENCE SCHOOL

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานวิชาการ และปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง กรอบการวิจัยใช้ขอบข่ายและภารกิจการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบกรณีศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบการวิเคราะห์เอกสาร และแบบการสังเกต  ประชากรคือ ผู้บริหารงานวิชาการ จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน จำนวน 18 คน

   ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนกำหนดขอบข่ายและภารกิจการดำเนินงานวิชาการ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มงาน ได้แก่ 1)กลุ่มงานวิชาการ ประกอบด้วย งานพัฒนาหลักสูตร งานพัฒนาระบบเรียนรู้ งานทะเบียนวัดผล งานวัดผล ประเมินผลและเทียบโอน งานรับนักเรียน งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา งานพัฒนาส่งเสริมความรู้
ทางวิชาการแก่ชุมชน งานห้องสมุด งานศูนย์คอมพิวเตอร์ งานแนะแนวการศึกษา งานห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ งานส่งเสริมโครงงาน งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานกิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร งานนิเทศการศึกษา และงานสารสนเทศวิชาการ 2)กลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย งานประกันคุณภาพการศึกษา 3)กลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์ ประกอบด้วย งานวิเทศสัมพันธ์ 

   ปัญหาที่ประสบได้แก่ 1)ครูผู้สอนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน 2)จำนวนคาบการสอนไม่สอดคล้องกับปริมาณเนื้อหาสาระตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด 3)ครูผู้สอนเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดและการคัดเลือกครูใหม่ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมไม่ได้ 4)ระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตขัดข้องบ่อยๆ ส่งผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ต้องใช้สื่ออินเทอร์เน็ต

   The objective of the study was to find out the state and problems of the operation of academic tasks in the regional science school at Princess Chulabhorn’s College in Trang. The research aspects in the case study made use of the operation of academic tasks of Princess Chulabhorn’s College in Trang.  The research instruments included semi-structured interview forms, document review forms and observation forms. The population and the sample of this study were 30 academic administrators and 18 teachers, respectively.

   The results showed that the school divided the operation of academic tasks into 3 sections: 1) an academic section consisting of curriculum development, learning system development, measurement registration, evaluation assessment and transfer, student admission, learning resources development, research and development, academic development for the community, academic resources, a computer center, counseling service, science enrichment classroom, learner activities for science enrichment classroom, learner activities, project support, army reserve force students activity, educational supervision and academic Information; 2) educational quality assurance division consisting of educational quality assurance; and 3) an international affairs division consisting of  international affairs.

   The problems were as follows: 1) Teachers had a lack of understanding how to transfer curriculum into instruction. 2) The amount of instruction periods were inconsistent with the content as determined by standards of learning. 3) Teachers entered into early retirement and there were no qualified teachers to be recruited. 4) Internet connection failure affected teaching and learning activities which relied on the Internet.

Downloads

How to Cite

ตั้งตรงกิจเจริญ น., & ขมวัฒนา เ. (2014). การศึกษาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค: กรณีศึกษาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง. An Online Journal of Education, 9(4), 179–193. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37349